วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ องค์การอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์และกฎหมายแข่งขัน 7

51. Restriction on Exportation (การจำกัดการส่งออก)
          การจำกัดการส่งออก คือการจำกัดความสามารถในการส่งออกของบริษัท การจำกัดเช่นนี้อาจมาจากรัฐบาล ตามปกติมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องหรือรักษาทรัพยากรที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับคืนใหม่ได้หรือสมบัติอันล้ำค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งอาจมาจากข้อตกลงระหว่างบริษัทเพื่อจำกัดการส่งออกที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการคาร์เทล การจำกัดนี้อาจเกิดจากการตกลงร่วมกันที่ประเทศที่นำเข้าเจรจาต่อรอง เช่น ในกรณีของการจำกัดการส่งออกรถยนตร์ญี่ปุ่นไปยังประเทศสหรัฐแบบเต็มใจ สุดท้ายการจำกัดการส่งออกอาจเป็นการจัดการใบอนุญาตซึ่งบริษัทที่ให้ใบอนุญาตจะไม่อนุญาตให้ส่งออกสินค้าแข่งขันกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตอื่น ๆ หรือบริษัท ซึ่งขายใบอนุญาต

          52. Restriction of Importation (การจำกัดการนำเข้า)
          ตามปกติเป็นมาตรการของรัฐบาลซึ่งจำกัดความสามารถของผู้ที่เข้าสู่ตลาดต่างประเทศโดยการนำเข้า เช่น ภาษีนำเข้า โควต้า และการจำกัดการส่งออกแบบสมัครใจ โดยภาษีนำเข้าทำให้สินค้านำเข้าแพงกว่าสินค้าภายในประเทศ โควต้าส่งผลกระทบต่อการนำเข้าโดยตรงโดยกำหนดจำนวนหน่วยที่มาจากต่างประเทศ การจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ ส่วนใหญ่กำหนดตามประเทศสหรัฐอเมริกาคล้ายกับโควต้าคือจำกัดปริมาณ แต่แตกต่างจากโควต้าคือกำหนดด้านเดียวโดยประเทศนำเข้า นอกจากนี้ยังเป็นการตกลงโดยประเทศส่งออกที่จะป้องกันการกำหนดภาษีนำเข้า และ/หรือ โควต้า

          53. Rule of Reason (หลักการพิจารณาเหตุผล)
          หลักการพิจารณาเหตุผลเป็นวิธีการทางกฎหมายขององค์กรกำกับดูแลการแข่งขันหรือศาลซึ่งพยายามที่จะประเมินลักษณะที่ส่งเสริมการแข่งขัน (pro-competitive) ในการปฏิบัติที่เป็นการจำกัดการค้าต่อผลที่ต่อต้านการแข่งขันเพื่อที่จะตัดสินว่าควรห้ามการปฏิบัติดังกล่าวหรือไม่ การจำกัดการตลาดซึ่งมีหลักฐานว่าทำให้เกิดประเด็นด้านการแข่งขันอาจพบจากการตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตอาจจำกัดการจำหน่ายสินค้าในตลาดเชิงภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันกับผู้ค้าปลีกที่มีอยู่เพื่อที่จะให้ได้กำไรสูงขึ้นและมีแรงจูงใจที่จะโฆษณาสินค้าและให้บริการแก่ลูกค้าดีขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการขยายอุปสงค์ในสินค้าของผู้ผลิตมากกว่าการเพิ่มปริมาณที่ปริโภคในราคาที่ต่ำลงคำตรงข้ามกับ Rule of Reason ได้แก่ การปฏิบัติทางธุรกิจที่มีความผิดโดยไม่ต้องพิสูจน์ per se illegal เช่น การตกลงเพื่อกำหนดราคาและการรักษาราคาขายต่อ เป็นต้น

          54. Selling Below Cost (การขายต่ำกว่าทุน)
          การขายที่ต่ำกว่าทุนเป็นการปฏิบัติซึ่งบริษัทขายสินค้าต่ำกว่าต้นทุนในการผลิตหรือซื้อเพื่อกำจัดคู่แข่งขันและ/หรือเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดการปฏิบัตินี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจบางรายมีเงินทุนมากหรือมีการชดเชยข้ามผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้กำไรที่ได้มาจากการขายสินค้าอื่นซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาว่าการขายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าต้นทุนเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจในระยะยาวหรือไม่เพราะบริษัทอาจมีต้นทุนสูงในขณะเดียวกันต้องสูญเสียกำไรที่ควรจะได้รับ

          55. Shared or Joint Monopoly (การผูกขาดร่วม)
          การผูกขาดร่วมเป็นพฤติกรรมการต่อต้านการแข่งขันเพื่อที่จะรักษาผลกำไรจากการผูกขาดสำหรับบริษัทที่เป็นกลุ่ม การผูกขาดร่วมต้องมีการรวมหัวกันบางรูปแบบ แต่ไม่ใช่การตกลงร่วมกันแบบคาร์เทลที่เป็นทางการ ดังนั้นการผูกขาดร่วมจึงคล้ายกับ tacit collusion

          56. Shipping Conference (การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ)
          การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือกล่าวถึงบริษัทเดินเรือที่รวมตัวในรูปสมาคมเพื่อที่จะตกลงและกำหนดค่าระวางสินค้าและค่าธรรมเนียมกับลูกค้าตลอดเส้นทางการขนส่งที่แตกต่างกัน การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือนอกจากจะกำหนดอัตราค่าขนส่งแล้วยังมีนโยบายมากมายเช่น การจัดสรรลูกค้าสัญญาที่เปิดกว้างด้านราคา เป็นต้น ก่อนหน้านี้ การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือได้รับการยกเว้นจากกฎหมายการแข่งขันในหลาย ๆ ประเทศ แต่ขณะนี้ได้มีการห้าม การตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อเป็นการส่งเสริมการแข่งขันและให้ทางเลือกแก่ผู้ส่งออกมากขึ้น

57. Takeover (การครอบครองกิจการ)
          การครอบครองกิจการเป็นการเข้าซื้อกิจการโดยการที่บุคคลหรือกลุ่มนักลงทุนเพื่อหวังควบคุมบริษัท การครอบครองกิจการ ตามปกติเกิดจากการซื้อหุ้นตามราคาที่สูงกว่าราคาในใบหุ้นและอาจให้เงินช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจ่ายเงินสด และ/หรือการให้หุ้นของบริษัทเป้าหมาย คำว่าการควบรวมกิจการการเข้าซื้อกิจการ และการครอบครองกิจการมักจะใช้แทนกันและมีความแตกต่างระหว่างคำเหล่านี้น้อยมาก การครอบครองกิจการอาจเป็นการครอบครองทั้งหมดหรือบางส่วนและไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานรวมของบริษัทที่ต้องการรวมกับบริษัทเป้าหมาย

          58. Tied Selling (การขายพ่วง)
          การขายพ่วงเป็นสถานะการณ์ซึ่งการขายสินค้าชนิดหนึ่งเป็นเงื่อนไขในการซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งและคล้ายกับ full- line forcing ซึ่งผู้ขายบังคับให้ผู้ซื้อที่สนใจสินค้าประเภทหนึ่งเฉพาะต้องซื้อสินค้าทุกประเภท การขายพ่วงบางครั้งเป็นวิธีการเลือกปฏิบัติด้านราคา การขายพ่วงอาจเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันเนื่องจากการขายพ่วงอาจจำกัดโอกาสสำคัญของบริษัทอื่นที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรืออาจเพิ่มอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดสำหรับบริษัทที่ไม่ได้ขายสินค้าทุกประเภท การขายพ่วงอาจเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น ลดต้นทุนการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า (line of products) และเป็นการรับรองว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าประเภทเดียวกันที่ใช้เสริมกับสินค้านั้นด้วย ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์กำหนดให้ซื้อแผ่นดิสก์ด้วยเพื่อป้องกันความเสียหายหรือความด้อยประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ในการใช้แผ่นดิสก์ที่มีคุณภาพต่ำกว่าการพิจารณาการขายพ่วงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะมีเหตุผลทางธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์จึงใช้หลักของเหตุผลในการพิจารณาการขายพ่วง

          59. Vertical Integration (การรวมกันในแนวดิ่ง)
          การรวมกันในแนวดิ่งหมายถึงกรรมสิทธิ์หรือการควบคุมโดยบริษัทในขั้นตอนการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น บริษัทกลั่น ปิโตรเลี่ยมเป็นเจ้าของโรงเก็บปิโตรเลี่ยมและเครือข่ายการจัดจำหน่ายปลีกน้ำมันเบนซีน ซึ่งเป็นธุรกิจปลายน้ำ ในขณะเดียวกันเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันดิบและท่อน้ำมันซึ่งเป็นธุรกิจต้นน้ำ การรวมกันแบบ forward integration คือการรวมกันจากขั้นตอนการผลิตไปยังขั้นตอนการจัดจำหน่าย ในขณะที่การรวมกันแบบ backward integration คือการรวมกันจากขั้นตอนการผลิตไปยังขั้นตอนวัตถุดิบ การรวมกันในแนวดิ่งอาจเกิดจากการลงทุนใหม่ ๆ และ/หรือการควบรวมกิจการในแนวดิ่งและการเข้าซื้อบริษัทที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตที่ต่างกัน ประโยชน์ที่ได้จากการรวมกันในแนวดิ่งคือประสิทธิภาพและต้นทุนในการทำธุรกรรมที่ต่ำที่สุด

          60. Vertical Restraints (การจำกัดในแนวดิ่ง)  
          การจำกัดในแนวดิ่งกล่าวถึงการปฏิบัติการบางประเภทในการขายต่อของผู้ผลิตหรือ ผู้จำหน่ายสินค้า เช่น การกำหนดราคาขายต่อ การจำกัดสิทธิ์ในการทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามและการจำกัดเขตการขายหรือการจำกัดตลาดเชิงภูมิศาสตร์ การจำกัดไม่ให้ทำธุรกรรมกับบุคคลที่สามและ/หรือการแบ่งเขตการขาย ผู้จัดจำหน่ายรายเดียวเป็นผู้ที่ได้สิทธิ์จากผู้ผลิตที่จะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในกรณีนี้ อำนาจตลาดของผู้จัดจำหน่ายถูกจำกัดโดยการแข่งขันระหว่างตราสินค้า วัตถุประสงค์ของผู้ผลิตคือเพื่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้จัดจำหน่ายในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และเสนอบริการที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2440.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น