6. Barrier to Entry (อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด)
อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดเป็นปัจจัยซึ่งป้องกันหรือขัดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรมของบริษัทใหม่ แม้แต่เมื่อบริษัทที่มีอยู่เดิมมีกำไรมากเกินพอ อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทกว้าง ๆ คือ อุปสรรคทางโครงสร้างและอุปสรรคทางกลยุทธ์ อุปสรรคทางโครงสร้างเกิดจากลักษณะพื้นฐานของอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยี ต้นทุน และอุปสงค์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคทางโครงสร้างน่าจะเป็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ความได้เปรียบด้านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาด และการประหยัดต่อขนาดต้นทุนจม ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดได้เปรียบ เนื่องจากผู้เข้าสู่ตลาดรายใหม่จะต้องเอาชนะความเชื่อถือต่อตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาด ความได้เปรียบด้านต้นทุนหมายความว่าผู้เข้าสู่ตลาดรายใหม่จะมีต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์สูง
บางครั้งน่าจะเป็นเพราะความเสียเปรียบทางเทคโนโลยี การประหยัดต่อขนาดจะจำกัดจำนวนของบริษัทซึ่งสามารถดำเนินการให้มีต้นทุนต่ำตามขนาดที่กำหนด บางครั้งต้นทุนจมที่ไม่สามารถเรียกคืนได้เมื่อเลิกกิจการถือว่าเป็นอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดด้วย รัฐบาลอาจเป็นต้นเหตุของอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดได้โดยการออกใบอนุญาตและการออกระเบียบต่าง ๆ และอุปสรรคทางกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดเกิดจากพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาด เช่น pre-emption of facilities โดยผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในตลาดลงทุนด้านปริมาณสูงสุดในการผลิตเพื่อที่จะทำสงครามด้านราคาหากมีการเข้าสู่ตลาดโดยผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ เป็นต้น
7. Bid Rigging (การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูล)
การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูลเป็นรูปแบบเฉพาะรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมการรวมหัวกันกำหนดราคาโดยบริษัทที่ร่วมกันประมูล ซึ่งมี 2 แบบคือ บริษัทตกลงที่จะยื่นประมูลร่วมกันซึ่งเป็นการจำกัดการแข่งขันด้านราคา และบริษัทตกลงร่วมกันว่าบริษัทใดจะเป็นผู้ประมูลราคาต่ำที่สุดและสับเปลี่ยนกันในวิธีที่จะทำให้แต่ละบริษัทชนะการประมูลตามจำนวนของสัญญาที่ตกลงกันไว้ การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูลเป็นรูปแบบของการตกลงร่วมกันที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุด
8. Brand Competition (intra-and inter brand) การแข่งขันในด้านตราสินค้า (ตราสินค้าเดียวกันและต่างกัน))
บริษัทที่ขายสินค้าต่างกันมักจะพัฒนาและแข่งขันกันจากตราสินค้าหรือฉลาก เช่น โคคา โคล่ากับ เปปซี่ โคล่า เป็นการแข่งขันระหว่างตราสินค้า ผู้ซื้อต่างกันอาจต้องการซื้อสินค้าคนละตราสินค้าแม้ว่าจะต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้นหรือบ่อยขึ้นการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกัน เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ค้าปลีกและผู้จัดจำหน่ายในตราสินค้าเดียวกัน การแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันอาจเป็นการแข่งขันด้านราคาหรือด้านที่ไม่ใช่ราคา ตัวอย่างเช่น ยีนส์ลีวายส์ อาจขายในราคาที่ต่ำกว่าใน discount store หรือ specialty store เทียบกับห้างสรรพสินค้า แต่ไม่ให้บริการดีเท่ากับห้างสรรพสินค้า การให้บริการที่ดีทำให้เกิดการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันในด้านที่ไม่ใช่ราคา ผู้ผลิตบางรายพยายามที่จะกำหนดราคาขายปลีกสินค้าของตนให้เป็นแบบเดียวกันและป้องกันการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันโดยการกำหนดราคาขายต่อ (resale price maintenance) เพื่อที่จะกระตุ้นการแข่งขันภายในตราสินค้าเดียวกันในด้านที่มิใช่ราคา ถ้าหากการทำเช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มยอดขายสินค้า
9. Bundling (การบังคับซื้อ)
การบังคับซื้อ หมายถึงการขายคู่กันเป็นแพคเกจ เช่น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อาจกำหนดให้ลูกค้าซื้อส่วนประกอบทั้งหมดพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นดิสก์ และกระดาษพิมพ์ และอาจขายเป็นแพคเกจ เช่น รถยนตร์ประกอบด้วย options ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเกียร์อัตโนมัติ วิทยุ และเครื่องปรับอากาศรถยนตร์ การพิจารณาเรื่องการบังคับซื้อต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไปโดยพิจารณาตามหลักเหตุผล
10. Cartel (คาร์เทล)
การตกลงร่วมกันอย่างเป็นทางการระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมที่มีผู้ขายน้อยราย สมาชิกของคาร์เทลจะตกลงร่วมกันในเรื่องราคา ผลผลิตในอุตสาหกรรมทั้งหมด ส่วนแบ่งตลาด การจัดสรรลูกค้า การแบ่งเขต การตกลงร่วมกันกำหนดราคาประมูล การจัดตั้งองค์การขายร่วมกัน และการแบ่งกำไร เป็นต้น คาร์เทลในความหมายนี้คล้ายกับการสมรู้ร่วมคิดกันแบบเปิดเผย คาร์เทลเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของบริษัทสมาชิก โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมแบบคาร์เทลพยายามที่จะเลียนแบบพฤติกรรมการผูกขาด โดยการจำกัดผลผลิตของอุตสาหกรรม การขึ้นราคาสินค้าหรือกำหนดราคาสินค้าเพื่อให้ได้กำไรสูงขึ้นคาร์เทลแบบเปิดเผยและไม่เปิดเผยมีลักษณะ ต่อไปนี้
- คาร์เทลแบบเปิดเผย รัฐบาลอาจกำหนดและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับราคาผลผลิตและอื่น ๆ export cartels และการตกลงทางการขนส่งสินค้าทางเรือ (shipping conference) เป็นตัวอย่างของคาร์เทลแบบเปิดเผย
- คาร์เทลแบบไม่เปิดเผย จะต้องเป็นการทำความตกลงร่วมกันที่มีเงื่อนไขที่จะก่อประโยชน์ร่วมกัน แต่บุคคลภายนอกจะไม่รู้ คาร์เทลที่ประสบผลสำเร็จไม่ว่าจะเป็นแบบเปิดเผยหรือไม่เปิดเผย ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน ประสานกัน และความยินยอมร่วมกันในหมู่สมาชิก ซึ่งหมายความว่าสมาชิกของคาร์เทลจะต้องสามารถตรวจพบเมื่อมีการฝ่าฝืนข้อตกลงเกิดขึ้นและสามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนได้
ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2440.0
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น