วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ องค์การอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์และกฎหมายแข่งขัน 6

41. Oligopoly (ตลาดผู้ขายน้อยราย)
          ตลาดที่มีผู้ขายน้อยรายคือตลาดที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันด้านนโยบายการตั้งราคา และผลผลิตจำนวนของผู้ขายมีน้อยรายจนทำให้ผู้ขายแต่ละรายมีอำนาจตลาดการผูก ขาดโดยผู้ขายน้อยรายแตกต่างจากตลาดสมบูรณ์เนื่องจากผู้ขายแต่ละรายในตลาด ต้องพึ่งพาอาศัยกันและแตกต่างจากการแข่งขันกึ่งผูกขาดโดยผู้ขายสามารถควบคุม ราคาสินค้า และแตกต่างจากการผูกขาดโดยผู้ขายที่ผูกขาดจะไม่มีคู่แข่งขัน โดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์การผูกขาดโดยกลุ่มผู้ขายน้อยรายจะสนใจที่ผลของการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างบริษัทในการตัดสินใจเรื่องราคาและผลผลิต

          42. Perfect Competition (การแข่งขันสมบูรณ์)
          การแข่งขันสมบูรณ์ประกอบด้วยเงื่อนไข 4 ประการคือ
               (1) มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากและไม่มีผู้ใดที่มีผลต่อราคา
               (2) ในระยะยาวมีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบในการผลิตอย่างเสรีไม่มีอุปสรรคในการเข้าและออกจากตลาด
               (3) ผู้ซื้อและผู้ขายทั้งหมดในตลาดจะต้องได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการผลิตและบริโภคอย่างเต็มที่
               (4) ผลิตภัณฑ์ควรเหมือนกัน

          43. Price Discrimination (การเลือกปฏิบัติด้านราคา)
          การเลือกปฏิบัติด้านราคาเกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อในตลาดที่ต่างกันต้องซื้อ สินค้าหรือบริการที่เหมือนกันในราคาต่างกันด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ใช่ต้นทุน การเลือกปฏิบัติด้านราคาจะมีผลถ้าหากลูกค้าไม่สามารถทำกำไรจากการขายสินค้า หรือบริการให้แก่ลูกค้าอื่น การเลือกปฏิบัติด้านราคาอาจมีหลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการกำหนดราคาที่แตกต่าง กันสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน ในบริเวณที่ต่างกันและประเภทของผู้ใช้ที่ต่างกัน

          44. Price Fixing Agreement (การทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคา)
          เป็นการทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาระหว่างผู้ขายเพื่อจำกัดการแข่งขัน ระหว่างบริษัทและทำให้มีกำไรสูงขึ้น การทำความตกลงร่วมกันกำหนดราคาเกิดจากบริษัทพยายามที่จะมีพฤติกรรมผูกขาด

          45. Price Leadership (การเป็นผู้นำด้านราคา)
          ราคาและการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของบริษัทที่มีอำนาจเหนือ ตลาดหรือบริษัทอื่นที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำและมีบริษัทอื่นใน อุตสาหกรรมเป็นผู้ตาม เมื่อการเป็นผู้นำด้านราคาสินค้าเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการสมรู้ร่วมคิดกันทำ ได้ง่ายขึ้น ผู้นำด้านราคามักจะกำหนดราคาสูงจนบริษัทที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดในตลาด อาจมีผลกำไรเหนือระดับราคาที่มีการแข่งขัน

          46. Product Differentiation (ความแตกต่างของสินค้า)
          สินค้าจะมีความแตกต่างกันเมื่อมีลักษณะทางกายภาพ คุณภาพ ความทนทาน หรือการบริการภาพลักษณ์ และสถานที่ทางภูมิศาสตร์ต่างกัน บริษัทที่มีการโฆษณาหรือกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อให้สินค้าของตนมีความแตก ต่าง ความแตกต่างของสินค้าอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดแต่แล้วอาจช่วยให้ การแทรกเข้าตลาดทำได้ง่ายขึ้นโดยบริษัทที่มีสินค้าซึ่งผู้ซื้ออาจชอบมากกว่า สินค้าที่มีอยู่ ควรสังเกตว่าสินค้าที่มีความแตกต่าง (differentiated products) ไม่เหมือนกับสินค้าที่มีคุณสมบัติต่างกัน (heterogeneous product) เนื่องจากสินค้าที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันหมายถึงสินค้าที่ต่างกันและทดแทน ไม่ได้ง่าย ในขณะที่สินค้าที่แตกต่างกัน (differential product) สามารถทดแทนกันได้บางระดับ

          47. Reciprocity (ความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนกัน)
          ความสัมพันธ์แบบต่างตอบแทนกัน เป็นรูปแบบหนึ่งของการตกลงร่วมกันสองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย) ระหว่างบริษัทเพื่อที่จะเอื้อต่อกันและกันในเรื่องของการซื้อและขายเพื่อ จำกัดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งอาจมีผลจำกัดการแข่งขันและ/หรือป้องกันการเข้าสู่ตลาดของบริษัท การจัดการแบบต่างตอบแทนกันทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันและกันอาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทโดยการรับรอง ว่าสัญญาจะสมบูรณ์หรือไม่โดยการช่วยให้การขายสินค้าตัดราคาที่เป็นความลับทำ ได้ง่ายขึ้น (secret price-cutting)

          48. Recommended or Suggested Price (ราคาแนะนำ)
          ผู้จำหน่ายอาจเสนอแนะหรือแนะนำราคาสินค้าที่ขายปลีกในหลายอุตสาหกรรม บางกรณีผู้จำหน่ายอาจกำหนดราคาสินค้า "ที่สูงที่สุด" เพื่อขัดขวางผู้ค้าปลีกจากการขึ้นราคาสินค้าเพื่อที่จะเพิ่มส่วนต่างของผล กำไรและลดยอดขายทั้งหมด พฤติกรรมเช่นนี้อาจเกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการฝ่าฝืนกฎหมายการกำหนดราคาขาย ปลีก ซึ่งเป็นการจำกัดและพยายามกำหนดราคาขายที่ต่ำที่สุดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของ หลายประเทศ

          49. Refusal to deal/sell (การปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วย)
          การปฏิเสธที่จะจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามปกติคือผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งซึ่งทำเพื่อบังคับผู้ค้าปลีกให้ร่วมในการ กำหนดราคาขายต่อ เช่น ไม่ลดราคาสินค้าหรือสนับสนุนไม่ให้ผู้ซื้ออื่นเข้าร่วมกิจกรรมหรือขายสินค้า ให้แก่ลูกค้าเฉพาะรายหรือเฉพาะพื้นที่ การปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วยอาจเกิดขึ้นได้ถ้าหากผู้ซื้อมีเครดิตไม่ดีและมี ความเสี่ยง เก็บสินค้าคงคลังไม่เพียงพอหรือบริการการขาย การโฆษณา และการจัดวางสินค้าไม่ดีพอ เป็นต้น ผลกระทบทางการแข่งขันในการปฏิเสธที่จะทำธุรกรรมด้วยต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

          50. Resale Price Maintenance (การกำหนดราคาขายต่อ)
          ผู้จำหน่ายซึ่งกำหนดราคาที่ต่ำที่สุด (หรือสูงที่สุด) ซึ่งจะต้องขายต่อให้ผู้บริโภค จากมุมมองด้านนโยบายการแข่งขัน การกำหนดราคาขายที่ต่ำที่สุดจะเป็นปัญหาและมีการโต้แย้งว่าการรักษาระดับ ราคาขายจะทำให้ผู้จำหน่ายสามารถควบคุมตลาดสินค้าได้ รูปแบบของการกำหนดราคาในแนวดิ่งอาจป้องกันไม่ให้ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีก และราคาขายส่งลดลงหากมีการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ได้มีการโต้แย้งว่าผู้จำหน่ายอาจต้องการปกป้องชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์ของ ผลิตภัณฑ์และป้องกันจากการที่ผู้ค้าปลีกนำไปใช้เสมือนผู้นำในการขาดทุนเพื่อ ที่จะดึงลูกค้า เช่นเดียวกัน โดยการรักษาส่วนต่างของกำไรจากการกำหนดราคาขายปลีก

          ผู้ค้าปลีกอาจมีแรงจูงใจที่จะใช้ค่าใช้จ่ายด้านบริการมากขึ้น ลงทุนในสินค้าคงคลัง โฆษณาและเข้าร่วมในความพยายามอื่น ๆ ที่จะเพิ่มความต้องการสินค้าต่อผลประโยชน์รวมทั้งของผู้จำหน่ายและผู้ค้า ปลีก การกำหนดราคาขายปลีกอาจใช้เพื่อป้องกันผู้ค้าปลีกจากการเอาเปรียบ (free riding) โดยผู้ค้าปลีกที่แข่งขันกัน ซึ่งแทนที่จะเสนอราคาสินค้าที่ต่ำลง และใช้เวลา เงินและความพยายามในการส่งเเสริมและอธิบายความซับซ้อนทางเทคนิคหรือการมี ส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ผู้ค้าปลีกรายหนึ่งอาจไม่ลดราคาสินค้าแต่จะสาธิตและแสดงให้ผู้บริโภคที่ใช้ สินค้าที่ซับซ้อนดู เช่น คอมพิวเตอร์ หลังจากที่ลูกค้าได้ข้อมูลนี้เลือกที่จะซื้อคอมพิวเตอร์จากผู้ค้าปลีกซึ่ง ขายคอมพิวเตอร์ในราคาต่ำและไม่เสนอการสาธิตหรือแสดงการใช้ให้ดู ในหลายประเทศการรักษาระดับราคาขายต่อเป็นความผิดโดยไม่ต้องพิสูจน์แต่มีข้อ ยกเว้นบางกรณีหรือบางสินค้า

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2440.0 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น