Featured Posts Coolbthemes

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ใช้ AI เขียนบทความ สำหรับทำ SEO ได้จริงหรือไม่?


AI เขียนบทความ มีไว้เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างเนื้อหา ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างบทความ บล็อกโพสต์ และข้อความโซเชียลมีเดีย

www.wordsai.com เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเขียนเนื้อหา SEO เครื่องมือนี้จะช่วยคุณเขียนเนื้อหาได้หลากหลายประเภท (เมื่อใช้โหมดขั้นสูง) และปรับปรุงงานเขียนของคุณเองได้สะดวกมากขึ้น ช่วยให้งานของคุณเสร็จเร็วขึ้นอย่างมาม 

 

นักเขียนบทความ

 

สร้างเนื้อหาได้เร็วขึ้นและดีขึ้น

ด้วย ความสามารถของ AI เขียนบทความ คุณสามารถสร้างเนื้อหาที่เป็นมิตรกับ SEO ได้ในไม่กี่วินาที! แพลตฟอร์มใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้ใช้ คุณจึงสามารถเริ่มต้นได้ทันที นอกจากนี้ การมุ่งเน้นที่ SEO จะช่วยให้คุณเขียนบทความที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับผู้ชมของคุณและเหมาะสำหรับ Google อีกด้วย

การใช้ AI เขียนบทความ เป็นวิธีที่ประหยัดต้นทุนในด้านการเขียนบทความคุณภาพสูง นอกจากนี้ โมเดล AI ยังเรียนรู้จากเนื้อหาของคุณอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงผลลัพธ์เมื่อเวลาผ่านไป

AI สามารถช่วยวางแผนและคิดเค้าโครงงานเขียนช่วยคุณ

ถ้าคุณคิดไม่ออกว่าจะเริ่มต้นเขียนยังไงดี คุณก็สามารถใช้ AI ช่วยคิดหัวข้อหรือเค้าโครงเรื่องที่จะเขียนได้ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลาคิดหัวข้อเรื่อง

ไม่ต้องเสียเวลาเขียนบทความเอง

ด้วยความสามารถของ AI และความฉลาดในการเขียนบทความ คุณจะไม่ต้องเสียเวลาอะไรเลย เพียงแค่กำหนดส่วนที่ต้องการ และคุณก็จะได้บทความที่มีคุณภาพสูงได้ภายในไม่กี่วินาที

เขียนบทความให้ติดอันดับบน Google

หากคุณต้องการเขียนเนื้อหาที่ติดอันดับบน Google การใช้ AI เขียนบทความจะช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย และมีราคาไม่แพง

 

AI Robot

 

ใครสามารถใช้ AI เขียนบทได้บ้าง?

AI เขียนบทความ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกคนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากแมชชีนเลิร์นนิงสำหรับความต้องการด้านการเขียน ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องการสร้างสื่อการตลาดหรือบุคคลที่ต้องการเขียนบล็อกส่วนตัวก็ตาม AI สามารถช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้

AI นั้น สามารถช่วยคุณสร้างเนื้อหาที่สมบูรณ์แบบสำหรับความต้องการของคุณ ด้วยความชัดเจนและความคิดสร้างสรรค์ แม้แต่บทความ SEO ก็ตาม AI ก็สามารถช่วยเขียนบทความให้มีประสิทธิภาได้

คุณสมบัติหลักของ IA เขียนบทความ

ในบทความนี้จะขอกล่าวถึง AI จากเว็บไซต์ www.wordsai.com เพื่อให้เป็นตัวอย่าง ซึ่งความสามารถของ AI นี้ ถ้าเป็นโหมดปกติ จะสามารถเขียนบทความตามหัวข้อที่คุณต้องการและยังช่วยคิดเค้าโครงเรื่องของบทความให้คุณได้อีกด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนเนื้อหาต่อไป
แต่ถ้าเป็นในโหมดขั้นสูงนั้น AI มีความสามารถมากกว่านั้น ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น การคิดหัวข้อบทความ SEO , เขียนบทความ SEO , เขียนบทความทั่วไป , คิดเค้าโครงเรื่องของบทความ , การแต่งนิยายสั้นๆ และการแต่งเนื้อเพลงก็ได้เช่นกัน
 

หุ่นยนต์ ช่วยเขียนเนื้อหา

การใช้ AI ช่วยเขียนบทความ

การเขียนบทความด้วย AI กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากมีประโยชน์มากมาย ถ้าคุณใช้ AI คุณจะสามารถสร้างเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยความเข้าใจที่ดีขึ้นของกลุ่มเป้าหมายของคุณ

หากคุณกำลังมองหาวิธีที่รวดเร็วและง่ายดายในการเขียนบทความ ขอแนะนำให้คุณได้ลองใช้ www.wordsai.com ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับคุณ ด้วยบริการ AI เขียนบทความ สามารถช่วยให้คุณคิดไอเดียสำหรับเนื้อหาของคุณ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยคุณประหยัดเวลา แต่ยังช่วยให้มั่นใจว่าเนื้อหาของคุณมีคุณภาพสูงอีกด้วย

แต่ว่าตอนนี้จะมี AI เขียนบทความมากมายให้บริการ แต่จำเด่นของ wordsai ก็คือ การเขียนบทความภาษาไทยได้อย่างชาญฉลาด ซึ่งปัจจุบันนี้ ยังไม่มีบริการ AI เจ้าไหนที่สามารถทำได้ เพราะที่อื่นๆ จะรองรับภาษาอังกฤษ เป็นหลักนั่นเอง 

 

เขียนบทความลงเว็บไซต์

บทสรุป

การใช้ AI ช่วยงานเขียน สำหรับเราแล้ว เราคิดว่ามันเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกคนที่ต้องการสร้างเนื้อหาที่ดูเป็นมืออาชีพอย่างรวดเร็วและง่ายดาย

บริการนี้มีราคาไม่แพงและสามารถใช้งานได้ง่าย สามารถสร้างเนื้อหาได้หลากหลาย สามารถเขียนเนื้อหาที่น่าดึงดูดสำหรับไซต์ของคุณและเหมาะสมกับ SEO ได้อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิเคราะห์บอล แนวคิดการวิเคราะห์ที่เซียนบอลใช้กัน

วิเคราะห์บอล คือการทำนายความน่าจะเป็นว่า ทีมฟุตบอลที่กำลังแข่งขันกันนั้น ทีมไหนน่าจะชนะ ผลการแข่งน่าจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งหลักการวิเคราะห์บอลนั้นมีหลากหลายแนวทาง มีสูตรมากมาย ที่เซียนบอลแต่ละคนนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์บอล เพื่อให้ได้ความน่าจะเป็นมากที่สุด เพื่อที่จะทายได้ว่าทีมไหนจะชนะ สำหรับคนที่สามารถวิเคราะห์บอลเองได้ ก็จะมีการใช้เทคนิคต่างๆ ที่ตนเองมี หรือได้เรียนรู้มา หรือบางคนก็อาจจะมีโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์บอล ซึ่งก็มีหลากหลายโปรแกรมเช่นกัน ซึ่งแต่ละอย่าง แต่ละเครื่องมือ ก็จะมีการวิเคราะห์หรือหาค่าความน่าจะเป็นที่แตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่หลายๆ คนมักจะทำกัน นั่นก็คือ การเลือกเชียร์ ตามเว็บวิเคราะห์บอลต่างๆ ที่มีเซียนๆ หรือผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการฟุตบอล หรืออาจจะเป็นคนที่เชี่ยวชาญด้านนี้อยู่แล้ว โดยเว็บไซต์เหล่านี้ก็มีมากมาย ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะมีคนที่คอยวิเคราะห์บอลอยู่แล้ว และนำบทวิเคราะห์มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อให้คนที่สนใจได้เข้าไปอ่าน เข้าไปดู ว่าเซียนๆ แต่ละคนนั้น มีการวิคราะห์อย่างไร มีการเลือกเชียร์ทีมไหนกันบ้าง ซึ่งการเลือกเชียร์ตามเว็บต่างๆ ถือได้ว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้อะไรเลย เราก็แค่หาอ่านบทวิเคราะห์บอลจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อที่จะได้เลือกเชียร์ตามนักวิเคราะห์ได้แนะนำกัน แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกเชียร์ตามเว็บต่างๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะมีโอกาสถูกเสมอไป เพราะถึงยังไงก็มีผิดพลาดกันอยู่เหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแนวทางของการวิเคราะห์บอลของแต่ละคน ว่าใช้ข้อมูลอะไรมาพิจารณากันบ้าง โดยปกติแล้ว ในการวิเคราะห์บอลนั้น ก็จะมีการนำข้อมูลสถิติย้อนหลังมาทำการวิเคราะห์ รวมถึงข้อมูลความพร้อมของแต่ละทีม ไปจนถึงตัวผู้เล่นของแต่ละทีม ว่าทีมไหนน่าจะมีโอกาสที่จะชนะหรือแพ้มากกว่ากัน ทีมไหนที่มีผู้เล่นที่แข็งแกร่งกว่า ทีมไหนมีสถิติการชนะมากกว่า หรือแม้กระทั่งว่า ทีมไหนเคยพบเจอกับทีมไหนแล้วชนะหรือแพ้มากกว่ากัน ไปจนถึงการนำสถานที่แข่งขันมาพิจารณา คือ ทีมไหนมีเป็นเจ้าบ้าน หรือเป็นทีมเยือน ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เซียนบอล หรือนักวิเคราะห์บอลต้องนำมาพิจารณา เพื่อทำนายผลว่า ในการแข่งขันนั้นทีมไหนน่าจะชนะหรือแพ้ และผลการแข่งขันนั้นน่าจะเป็นอย่างไร
สำหรับบทความนี้ก็ไม่ได้มาลงลึกอะไรเรื่องการคำนวณหรือการวิเคราะห์ แต่เป็นเพียงการนำเสนอให้ได้เห็นถึงแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์บอลก็เท่านั้น เผื่อบางคนอาจจะสนใจเรื่องนี้ แต่ถึงอย่างไร ผู้เขียนเองก็ไม่ได้มีเจตนาใดๆ ที่เป็นการส่งเสริมการเล่นการพนัน เพราะขึ้นชื่อว่าการพนันแล้ว ย่อมไม่ส่งผลดีต่อใครๆ ทั้งสิ้น แต่การเสนอบทความนี้เป็นเพียงการนำความรู้เกี่ยวกับการวิคราะห์บอลนำมาพูดถึง เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านกีฬาก็เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

โปรแกรมสปินบทความภาษาไทย และรีไรท์บทความสำหรับภาษาไทย

โปรแกรมสปินบทความภาษาไทย

เมื่อกล่าวถึงโปรแกรมสปินบทความ หรือบางคนก็เรียกว่าโปรแกรมรีไรท์บทความ ซึ่งทุกคนที่อยู่ในวงการ SEO คงจะรู้จักกันทุกคน เพราะมันคือโปรแกรมที่สามารถทำให้บทความหนึ่ง สปินออกมาเป็นบทความใหม่ๆ ได้อย่างมากมาย เพราะสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งหรือจะว่าสำคัญที่สุดในการทำ SEO นั่นก็คือ บทความที่มีคุณภาพและไม่ซ้ำกับคนอื่น เป็นบทความสดใหม่ ไม่ได้ไป Copy ของใครๆ  ยิ่งมีบทความที่มีคุณภาพอยู่ในเว็บไซต์มากเท่าไหร่ยิ่งมีผลดีกับเว็บไซต์และทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาใน Google ได้ดีเท่านั้น เพราะเว็บไซต์ไม่ใช่ว่าจะใช้แค่บทความเดียว แต่ต้องมีบทความจำนวนมากพอสมควรเพื่อให้เว็บไซต์ถูกค้นหาในหลากหลายคีย์เวิร์ด ซึ่งโปรแกรมสปินบทความนี้ก็มีมากมายหลากหลาย นับไม่ถ้วนจนไม่รู้ว่าจะใช้โปรแกรมไหนดี แต่นั้นเป็นโปรแกรมที่สปินเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าหากเป็นโปรแกรมที่รองรับภาษาไทย แทบจะไม่มีเลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีซะเลย เรามาดูกันดีว่า ว่าโปรแกรมสปินบทความภาษาไทยมีอะไรบ้าง

WordsAI คือโปรแกรมสปินบทความภาษาไทย เป็นระบบที่ใช้งานบนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นระบบที่เรียบง่าย ใช้งานง่ายมากๆ ได้บทความใหม่ภายในคลิกเดียว ไม่ยุ่งยากซับซ้อน โดยความสามารถที่เด่นชัดมากๆ ก็คือ บทความที่สปินออกมานับว่าดีเยี่ยมคือ ได้บทความที่อ่านออก อ่านได้รู้เรื่อง ไม่ได้สปินออกมามั่วๆ ซึ่งนี่เป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับคนทำเว็บไซต์ แลคนทำ SEO เพราะปัญหาหลักๆ ของการใช้โปรแกรมสปินบทความทั่วไปก็คือ ได้บทความที่ไม่มีคุณภาพ บทความอ่านไม่ออก อ่านไม่รู้เรื่อง พอบทความอ่านไม่ออก เมื่อนำบทความไปลงเว็บหรือบล็อก คนที่เข้ามาก็จะไม่ชอบ มีอคติกับเว็บไซต์เราได้ และ Google ก็ไม่ชอบด้วย เพราะถือว่าบทความไม่มีคุณภาพ เว็บไซต์ไม่มีคุณภาพ มีแต่แย่กับแย่
แต่สำหรับ WordsAI นั้นแตกต่างมาก เพราะระบบสามารถสปินได้บทความที่อ่านได้รู้เรื่อง และก็ยังมีการอัพเดทฐานข้อมูลคำศัพท์อยู่ตลอดเวลา อีกด้วย นอกจากนี้การสปินก็ยังสามารถเลือกได้ว่าต้องการแท็กสปิน หรือต้องการบทความแบบธรรมดา และยังมีฟังก์ชั่นสำหรับแก้ไขบทความที่สปินให้ได้คุณภาพมากขึ้น โดยสามารถเลือกคำหรือกลุ่มคำที่ใกล้เคียงได้ตามต้องการ หรือจะแก้ไขคำหรือกลุ่มคำได้เอง หลังจากสปินแล้วก็ได้ นับว่าเป็นโปรแกรมสปินบทความภาษาไทยที่ใช้งานได้ดีที่สุดในปัจจุบันนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งหากใครสนใจจะเข้าไปลองใช้ระบบตรงนี้ ก็สามารถไปทดลองใช้ได้กันฟรีๆ เลย ที่เว็บไซต์ wordsai.com ซึ่งการทดลองใช้นี้มีข้อจำกัดคือ สามารถสปินได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 ตัวอักษรเท่านั้น และบทความที่ได้ก็ Copy ออกมาไม่ได้ด้วย แต่หากทดลองใช้พอใจแล้ว อยากใช้งานแบบเต็มความสามารถและ Copy บทความออกมาได้ ก็สมัครเป็นสมาชิกแบบ VIP กันได้ ซึ่ง VIP จะสปินบทความได้มากถึงครั้งละ 10,000 ตัวอักษร รับรองไม่ผิดหวังแน่นอนกับ WordsAI เอาไปเลยล้านไลค์

หากใช้งานแล้วถูกใจก็ช่วยบอกต่อๆ กันให้มากๆ เพื่อเป็นการอุดหนุนคนไทยโปรแกรมของคนไทย

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนวคิดการสร้างความพึงพอใจ satisfaction

Kotler (1997, p. 40) ได้กล่าวว่า ความพึงพอใจของลูกค้า เป็นความรู้สึกพอใจหรือผิดหวังของลูกค้าที่มีผลมาจากการเปรียบเทียบระหว่างผลประโยชน์จากคุณสมบัติทางผลิตภัณฑ์ หรือการทำงานของผลิตภัณฑ์กับความคาดหวังของลูกค้า
          เกอร์สัน (2546, หน้า 20) ได้ให้คำจำกัดความของความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจของลูกค้า เกิดจากเมื่อสินค้าหรือบริการของเรา ตรงกับความต้องการ หรือเกินความคาดหมายของลูกค้า คุณภาพ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจและพูดถึงอยู่เสมอเมื่อได้ใช้สินค้าหรือบริการ คุณประโยชน์ของการวัดคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้า ประกอบด้วย
          1. ทำให้เกิดสัญชาตญาณที่มุ่งมั่นที่จะเอาชนะ และต้องการความสำเร็จ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องสู่คุณภาพการบริการที่ดีกว่าแก่ลูกค้า
          2. ทำให้รู้ถึงขีดขั้นมาตรฐานของผลงานตามปกติและรู้ถึงขั้นมาตรฐานที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพและความพึงพอใจที่สูงขึ้น
          3. ทำให้ทราบว่าสิ่งใดบ้างที่ต้องปรับปรุงคุณภาพและความพึงพอใจ ทำให้ช่วยผลักดันจูงใจให้ตั้งใจปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระดับที่สูงขึ้น

ความจงรักภักดีจากลูกค้า

          เกอร์สัน (2546, หน้า 54) ยังได้กล่าวถึงความจงรักภักดีจากลูกค้าว่า เป็นผลสะท้อนถึงความพอใจอย่างที่สุดของลูกค้า ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อลูกค้าได้รับความพอใจอย่างต่อเนื่อง ความพอใจเพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งอาจยังไม่นำไปสู่ความจงรักภักดีได้ ลูกค้าแต่ละคนย่อมมีความพอใจที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการและประสบการณ์ในการใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ลูกค้าในยุคปัจจุบันเอาใจยากขึ้น ลูกค้ามีความจงรักภักดีในตราบริการน้อยลง พร้อมเสมอในการเปลี่ยนไปใช้บริการที่อื่นหากมีสิ่งล่อใจที่เหมาะสม สิ่งที่นักการตลาดต้องทำคือ สร้างความพอใจให้เกิดประจำและพัฒนาไปสู่ความจงรักภักดี ซึ่งจะช่วยเพิ่มความจงรักภักดีหรือลดการไปใช้บริการที่อื่นนั่นเอง


บรรณานุกรม

แก้วตา จินดาวัฒน์. (2548). ความคิดเห็นในการเปิดให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกอร์สัน, ริชาร์ด. (2546). คู่มือปฏิบัติวิธีวัดความพึงพอใจของลูกค้า. (พิพัฒน์ ก้องกิจกุล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บีไบร์ทบุ๊คส์.

Kotler, P. (1997). Marketing management (9th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้

ความหมายของการรับรู้ (Perception)

ในการศึกษาเรื่องการรับรู้ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่าการรับรู้ไว้ดังนี้

          สุชา จันทร์เอม (อ้างถึงใน อรรถพร  คำคม, 2546, หน้า 31) ได้ให้ความหมายของการรับรู้ คือ การตีความหมายจากการรับสัมผัส (sensation) ในการรับรู้นั้นเราไม่เพียงแต่มองเห็น ได้ยิน หรือได้กลิ่นเท่านั้น แต่เราต้องรับรู้ได้ว่าวัตถุหรือสิ่งของที่เรารับรู้นั้นคืออะไร มีรูปร่างอย่างไร อยู่ทิศใด ไกลกว่าเรามากน้อยแค่ไหน ในแง่ของพฤติกรรม การรับรู้ในขบวนการที่เกิดขึ้นแทรกอยู่ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

          ลักขณา สริวัฒน์ (อ้างถึงใน อรรถพร คำคม, 2546, หน้า 32) ได้รวบรวมความหมายของ การรับรู้ว่า คือ อาการสัมผัสที่มีความหมาย (sensation) และการรับรู้เป็นการแปลหรือการตีความแห่งความสัมผัสที่ได้รับออกมาเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายอันเป็นสิ่งที่รู้จักและเข้าใจและในการแปลหรือตีความของการสัมผัสนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องใช้ประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิม หรือความชัดเจนที่มีอยู่เดิมแต่หนหลัง

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2208.0

แนวคิดระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ CRM

ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล, นิทัศน์ คณะวรรณ และธีรพล แซ่ตั้ง (2546, หน้า 39) ได้รวบรวมว่า Customer Relationship Management--CRM เป็นการสร้างความสัมพันธ์และบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้เกิดความภักดี กำไรระยะยาว และมูลค่าตลอดชีพของลูกค้า โดยการออกแบบโปรแกรม CRM ที่ดีนั้นจะช่วยให้เราสามารถใช้ CRM ได้อย่างมีผลกำไรและผลตอบแทนที่สูง CRM จะสร้างความประทับใจ ความพอใจ และความภักดีให้เกิดขึ้น ลูกค้าจะกลับมาใช้บริการ ก่อให้เกิดผลกำไรต่อธุรกิจ ข้อมูลของลูกค้า เป็นหัวใจของ CRM ถ้ายิ่งมีข้อมูลลูกค้ามากขึ้น เราก็จะสามารถตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้าจะเกิดความประทับใจและภักดีกับธุรกิจ สำหรับกฎการออกแบบ CRM ควรดำเนินการดังนี้
          1. ต้องมีระบบเก็บข้อมูลลูกค้าที่ดีและมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทุก ๆ การติดต่อระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเก็บข้อมูลลูกค้ามากขึ้น เรียนรู้ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น จะทำให้สามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงประเด็นมากขึ้น ข้อมูลสามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
               1.1 ลักษณะลูกค้า เช่น เพศ อายุ รายได้ อาชีพ การศึกษา และรูปแบบการดำเนินชีวิต
               1.2 ประวัติการติดต่อ การใช้ การซื้อ การรับบริการ และการร้องเรียนของลูกค้า
               1.3 ประวัติที่จะสามารถติดต่อลูกค้าผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ อีเมล์ และ SMS
               1.4 ผลการตอบสนองของลูกค้า ว่าลูกค้าพอใจ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางการตลาดหรือข้อเสนอประเภทใดของธุรกิจ อะไรที่กระตุ้นจูงใจลูกค้าของธุรกิจให้ตอบสนองได้ดี
          2. ต้องมีระบบหมายเลขสมาชิก ซึ่งจะช่วยให้เราเจาะจงชี้ชัดได้ว่าทุกครั้งที่มีการติดต่อกับลูกค้า เราจะสามารถทราบว่าเขาเป็นใคร เราจะสามารถรู้จักความชอบและพฤติกรรมของลูกค้ารายนั้น ๆ ได้ทันที จากการดึงฐานข้อมูลลูกค้ารายนั้นผ่านหมายเลขสมาชิก เราจะสามารถตอบโต้ลูกค้าเสมือนว่ารู้จักลูกค้าเป็นอย่างดีและคุ้นเคย ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
          3. ค้นหาลูกค้าคนสำคัญให้ได้จากชุมชนสมาชิก ลูกค้าทุกรายมีความสำคัญไม่เท่ากัน ระบบ CRM สามารถบ่งชี้ลูกค้าคนสำคัญได้ ด้วยการดูประวัติการใช้บริการ ความถี่ ต้องมีการแบ่งเกรดลูกค้าเป็นระดับ ตามความสำคัญของลูกค้า จัดสรรบริการ และข้อเสนอที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละกลุ่มลูกค้า
          4. มีระบบการวิเคราะห์ที่ดี CRM มุ่งเป้าหมายไปที่ผลกำไรมากเท่าไร เรายิ่งต้องเน้นการเก็บข้อมูล การแยกแยะข้อมูล และการวิเคราะห์สรุปข้อมูล
          5. ต้องมีระบบยกระดับลูกค้า
          6. มีระบบปฏิบัติการดึงข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานด่านหน้า ในการติดต่อ พูดคุย ให้บริการลูกค้าได้แบบทันควัน ทุกที่ ทุกเวลา ทุกการติดต่อ และตอบสนองลูกค้าได้อย่างประทับใจ

E-CRM ลูกค้าสัมพันธ์ สำหรับอี-คอมเมิร์ซ

          สันติ วิริยะรังสฤษฏ์ และพันธุ์ทิตต์ สะมะที (2545, หน้า 18) ได้รวบรวม เรื่องการบริหารความสัมพันธ์ต่อลูกค้า (Client Relationship Management--CRM) นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ได้มีมานานแล้ว และได้ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในสภาวการณ์เศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน เนื่องจากการรักษาฐานลูกค้าและการเพิ่มจำนวนลูกค้าในยามนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับองค์กรธุรกิจโดยหากองค์กรธุรกิจใดไม่สามารถรักษาระดับความสัมพันธ์กับลูกค้าของตนเองไว้ได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้กับคู่แข่งขันทางธุรกิจเข้ามาแย่งฐานลูกค้าของตนเองไปได้โดยง่าย
          ในยุคอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน ผู้ประกอบธุรกิจอี-คอมเมิร์ซก็ควรต้องคำนึงถึงการจัดการ CRM ในธุรกิจของตนเองได้เสมอเพียงแต่วิธีการจัดการ CRM ของธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซนั้นอาจจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการ CRM โดยหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-CRM) ด้วย
          องค์กรธุรกิจจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการจัดการ CRM โดยหากผู้ประกอบการธุรกิจไม่สามารถที่จะจัดการ CRM ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะต้องสูญเสียโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าใหม่แล้ว แม้แต่ฐานลูกค้าเดิม ของตนเองที่มีอยู่ก็อาจจะรักษาไว้ไม่ได้หรือต้องสูญเสียไปให้กับคู่แข่งขันทางธุรกิจอีกด้วย

เป้าหมายที่สำคัญของการจัดการ CRM อาจจะกำหนดได้หลายประการ เช่น
          1. สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในปัจจุบันที่มีอยู่เดิมเพื่อให้ลูกค้าดังกล่าวเป็นลูกค้าที่ซื่อสัตย์ต่อองค์กรธุรกิจนั้น ๆ
          2. เพื่อให้ลูกค้าในปัจจุบันที่มีอยู่เดิมใช้จ่ายเงินให้มากขึ้นกับองค์กรธุรกิจนั้น
          3. เพื่อสร้างฐานลูกค้าใหม่
          4. เพื่อให้ลูกค้าได้มีภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรธุรกิจ และสินค้าหรือบริการขององค์กรธุรกิจนั้น


บรรณานุกรม

แก้วตา จินดาวัฒน์. (2548). ความคิดเห็นในการเปิดให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล, นิทัศน์ คณะวรรณ และธีรพล แซ่ตั้ง. (2546). การตลาดมุ่งสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สันติ วิริยะรังสฤษฏ์ และพันธุ์ทิตต์ สะมะที. (2545). กลยุทธ์การตลาดทางอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: สยามเอ็มแอนด์บี พับลิชชิ่ง.

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2208.0

สรุปพฤติกรรมของลูกค้า

สรุปพฤติกรรมของลูกค้า
          1. ต้องการความสะดวกสบาย
          2. ต้องการความรวดเร็ว ไม่สามารถรอได้
          3. ต้องการความมั่นคงปลอดภัย
          4. เน้นความทันสมัย
          5. เน้นความคุ้มค่าเงิน
          6. มีความกล้าออกความเห็นมากขึ้นและการเรียกร้องสิทธิที่ตนควรได้รับ
          7. การต้องการบริการแบบเบ็ดเสร็จ

กลยุทธ์การขยายช่องทางการจัดจำหน่าย
          การทำธุรกิจไม่ได้มีแค่เพียงการโจมตีคู่แข่งขันเพียงอย่างเดียว หลายครั้งธุรกิจก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างสัมพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี เนื่องจากบางครั้งอาจใช้การร่วมมือกับธุรกิจพันธมิตรอื่นในการพัฒนากลยุทธ์ต่าง ๆ ทางธุรกิจได้ การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายโดยอาศัยความร่วมมือทางธุรกิจก็เป็นแนวทางที่ดี ซึ่งกำลังได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เป็นการขยายศักยภาพของตน และลดความเสี่ยงของธุรกิจในการแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมด และความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นได้

บริการเกินความคาดหมาย
          Zeithaml and Bitner (อ้างถึงใน ชัยสมพล ชาวประเสริฐ, 2546, หน้า 87-88) กล่าวว่า ก่อนที่ลูกค้าจะมาใช้บริการ ลูกค้าจะได้รับข้อมูลต่าง ๆ ของธุรกิจบริการนั้นจากสื่อโฆษณา การประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ใบปลิว หรือได้รับการบอกกล่าวจากบุคคลใกล้ชิด ทำให้ลูกค้าสร้างมโนภาพขึ้นมา หรือสร้างความคาดหวัง (Expectation--Ex) แต่เมื่อมาใช้บริการแล้วลูกค้าจะได้สัมผัสกับประสบการณ์จริง (Experience--Ep) ลูกค้าจะนำมโนภาพมาเปรียบเทียบกับประสบการณ์จริง ดังนี้
          1. กรณี Ex > Ep
            หากเป็นกรณีที่หมายความว่าลูกค้าจะรู้สึกไม่พอใจกับธุรกิจบริการเนื่องมาจากมโนภาพที่ลูกค้าสร้างหรือคาดหวังไว้มีมากกว่าคุณค่าที่ได้รับจากประสบการณ์การใช้บริการ ในอนาคตย่อมไม่มาใช้บริการอีกแน่นอน
          2. กรณี Ex = Ep
            กรณีนี้ลูกค้าจะลูกค้าจะรู้สึกว่าการบริการนั้นแค่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตอบสนองความต้องการได้ ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ หรือไม่ได้แตกต่างไปจากคู่แข่ง หากการบริการนั้นมีราคาสูง ลูกค้าอาจจะไม่มาใช้บริการต่อไป แต่หากบริการนั้นมีราคาที่สมเหตุสมผล ลูกค้าก็อาจจะมาใช้บริการในครั้งต่อไป
          3. กรณี Ex < Ep
            กรณีนี้ เป็นกรณีการให้บริการเกินความคาดหมาย เนื่องจากคุณค่าที่รับจากประสบการณ์การใช้บริการมากกว่าความคาดหวังที่ตั้งไว้ ก่อนใช้บริการ ลูกค้ามีความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ลูกค้าเกิดความจงรักภักดี ย่อมมาใช้บริการในครั้งต่อไป และอาจจะไปบอกต่อให้บุคคลอื่นต่อไป
          ในการสร้างบริการเกินความคาดหมายนั้น ธุรกิจจะต้องศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียดครอบคลุมทุกแง่มุม แต่ต้องเป็นความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า วิธีการหนึ่งที่นิยมทำ ได้แก่ การใช้การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกสอบถามกับลูกค้าปัจจุบันของธุรกิจ ลูกค้าของคู่แข่ง และกลุ่มผู้มุ่งหวัง (ยังไม่เป็นลูกค้าในปัจจุบัน) หลังจากนั้นต้องนำความต้องการจริงของลูกค้าเปรียบเทียบว่า ความต้องการดังกล่าว ธุรกิจของเราหรือคู่แข่งขันได้ตอบสนองไปแล้วหรือยัง หากความต้องการใดยังไม่มีธุรกิจใดตอบสนอง ก็ให้เลือกเฉพาะบางความต้องการอันนั้นที่จะมาเสนอบริการให้กับลูกค้าต่อไป

การพัฒนาบริการใหม่ (new service development)
          ชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2546, หน้า 92) ได้รวบรวมเรื่องการพัฒนาบริการใหม่ รวมถึงการสร้างความแตกต่างไว้ดังนี้
          การพัฒนาบริการใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจ ได้แก่ การสรรหา คิดค้น และการปรับปรุง การให้บริการที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น นอกจากนี้ยังรวมถึงการเพิ่มบริการเสริมให้กับบริการหลัก (core service) การพัฒนาบริการใหม่ จึงเป็นกิจกรรมทางการตลาดอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญเพื่อดึงความสนใจและสร้างชีวิตชีวาให้แก่การบริการ ทำให้รักษาลูกค้าเก่าได้ และเชิญชวนให้กลุ่มลูกค้าใหม่มาลองใช้บริการ หากธุรกิจมีการพัฒนาบริการใหม่อย่างสม่ำเสมอและลูกค้าให้การยอมรับ ธุรกิจนั้นอาจจะวางตำแหน่งบริการใหม่ให้ตนเป็น "ธุรกิจแห่งนวัตกรรม"
          การพัฒนาบริการใหม่ ย่อมทำให้ธุรกิจรักษาตำแหน่งบริการไว้ได้ หากการพัฒนาบริการใหม่นั้นเหมาะเจาะกับความต้องการของลูกค้า ลูกค้าก็จะยินดีจ่ายแพงขึ้น เนื่องจากลูกค้ามองว่า การพัฒนาบริการใหม่เป็นการเพิ่มคุณค่าของการบริการเหนือความคาดหมาย
          การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การสร้างความแตกต่าง สำหรับการตลาดบริการ มีการทำใน 3 รูปแบบ
          1. การพัฒนาบริการที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น
          2. การสร้างบริการใหม่ขึ้นมา
          3. การใช้บริการเสริมอื่น ๆ

ลักษณะของความแตกต่างที่ดี
          1. มีลักษณะแปลกใหม่และแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น
          2. ความแตกต่างนั้น สามารถสื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจนและลูกค้ารับรู้ความแตกต่างนั้นได้
          3. ความแตกต่างต้องสามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพอใจให้ผู้บริโภค
          4. ลูกค้าต้องจ่ายได้


บรรณานุกรม

แก้วตา จินดาวัฒน์. (2548). ความคิดเห็นในการเปิดให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2208.0

ประเภทของบริการในธุรกิจ

 ชัยสมพล ชาวประเสริฐ (2546, หน้า 23-52) ได้รวบรวมประเภทของบริการในธุรกิจ ลักษณะเฉพาะของการบริการ ลักษณะของความต้องการและพฤติกรรม สรุปพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า รวมถึงกลยุทธ์การขยายช่องทางการจัดจำหน่าย ไว้ดังนี้
          1. การบริการหลัก เป็นหัวใจหลักของธุรกิจ โดยทั่วไปบริการหลักจะสร้างกำไรให้กับธุรกิจมาก บริการหลักมักมีความซับซ้อนในการให้บริการมาก ดังนั้นการบริการเหล่านี้ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญมากในการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งมอบบริการหลักที่แข่งขันกับคู่แข่งได้
          2. การบริการเสริม การบริการประเภทนี้สร้างรายได้และทำกำไรให้กับธุรกิจได้ แต่น้อยกว่าการบริการหลัก ดังนั้นธุรกิจใดจะมีบริการเสริมได้ก็ต่อเมื่อได้พัฒนาบริการหลักให้มีความไว้วางใจจากลูกค้าก่อน เพราะมิเช่นนั้นแล้ว บริการเสริมจะกลายเป็นบริการหลัก และในที่สุดจะต้องเปลี่ยนประเภทของธุรกิจนั้นไป
          3. การบริการอื่น ๆ การบริการประเภทนี้ไม่ใช่เป็นหัวใจหลักของธุรกิจ แต่เป็นบริการที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากเป็นบริการที่สนับสนุนบริการหลักและบริการเสริมให้ดำเนินต่อไปอย่างสะดวก การบริการประเภทนี้มักไม่ทำกำไรให้กับธุรกิจ หรือเป็นค่าใช้จ่ายนั่นเอง เช่น การบริการรักษาความปลอดภัย การให้บริการที่จอดรถ

ลักษณะเฉพาะของการบริการ
          1. ความไม่มีตัวตน (intangibility) บริการไม่สามารถมองเห็น และสัมผัสไม่ได้ ดังนั้นจะต้องนำมาปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด เช่น จะต้องตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม สะอาด และน่าใช้บริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้ว่า การบริการก็น่าจะดีเหมือนการตกแต่งสถานที่
          2. ความแยกจากกันไม่ได้ระหว่างผู้ให้บริการและลูกค้าผู้รับบริการ (inseparability) แม้ว่าจะอยู่คนละสถานที่ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่สามารถแยกจากกันได้ในช่วงเวลาที่ให้บริการ ดังนั้นต้องให้ทั้งสองฝ่ายพบกันให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งจุดให้บริการที่สะดวกสำหรับลูกค้า เช่น การตั้งธนาคารหรือตู้ ATM ภายในห้างสรรพสินค้า การให้บริการศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (call center) ตลอด 24 ชั่วโมง
          3. การเก็บรักษาไม่ได้ (perish ability) การบริการต้องอาศัยคนในการบริการเป็นสำคัญ ดังนั้นหากไม่มีลูกค้ามาใช้บริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง พนักงานที่ให้บริการก็จะว่างงาน (idle) เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ใด ๆ ดังนั้นจะต้องมีการจ้างพนักงานให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับจำนวนลูกค้า
          4. ความต้องการที่ไม่แน่นอน (fluctuating demand) ความต้องการใช้บริการของลูกค้าขึ้นลงอยู่เสมอ จึงต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของธุรกิจว่าในแต่ละช่วงวัน ช่วงเวลาและช่วงเดือนที่แตกต่างกัน จะบริหารการบริการของตนอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการที่ไม่แน่นอนนี้
          5. ความแตกต่างของการบริการในแต่ละครั้ง หมายถึงความแตกต่างด้านคุณภาพในการให้บริการ เนื่องจากการบริการต้องอาศัยคนหรือพนักงานในการให้บริการเป็นส่วนใหญ่ ต้องขึ้นกับองค์ประกอบอื่น ๆ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ (variability or heterogeneity)

ลักษณะของความต้องการและพฤติกรรม
          1. ความต้องการพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน
          2. ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าสามารถจัดเป็นกลุ่มได้
          3. ความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงได้
          4. พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจะเปลี่ยนไป หากมีบริการใหม่ที่ตรงกับความต้องการมากขึ้นมาตอบสนอง
          5. ลูกค้ามีความต้องการไม่สิ้นสุดหรือไม่จำกัด
          6. บ่อยครั้งที่ลูกค้าไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้
          7. ความต้องการและพฤติกรรมที่แอบแฝง


บรรณานุกรม

แก้วตา จินดาวัฒน์. (2548). ความคิดเห็นในการเปิดให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2208.0