วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ องค์การอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์และกฎหมายแข่งขัน 5

31. Interlocking Directorate (คณะกรรมการบริหารไขว้)
          คณะกรรมการบริหารไขว้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเดียวกันอยู่ในคณะกรรมการบริหารของสองบริษัทหรือหลายบริษัท ซึ่งการไขว้คณะกรรมการบริหารอาจทำเพื่อประสานการทำงานหรือลดการช่วงชิงระหว่างบริษัท

          32. Joint Venture (การร่วมลงทุน)
          เป็นการร่วมกันของบริษัทหรือบุคคลที่เกิดขึ้นเพื่อทำโครงการธุรกิจเฉพาะ การร่วมลงทุนคล้ายกับความสัมพันธ์ที่เป็นหุ้นส่วนกันแต่จำกัดอยู่กับโครงการจำเพาะ (เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะ หรือการทำวิจัยเฉพาะเรื่อง)การร่วมลงทุนอาจเป็นประเด็นการแข่งขันเมื่อเกิดขึ้นโดยบริษัทที่แข่งขันกันอยู่ ตามปกติพิจารณาการร่วมลงทุนบนหลักฐานที่ว่าโครงการจำเพาะนั้นมีความเสี่ยงหรือต้องการเงินทุนจำนวนมาก ดังนั้น การร่วมลงทุนจึงเป็นเรื่องธรรมดาในอุตสาหกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรเมื่อค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงและมีโอกาสที่จะล้มละลายสูงเช่นกัน การร่วมลงทุนนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่

          33. Market (ตลาด)
          ตลาด คือที่ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายทำธุรกรรมในธุรกิจเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเฉพาะ และราคาของสินค้าและบริการเหล่านี้มักจะเท่าเทียมกัน ตลาดอาจมีขอบเขตเป็นในท้องถิ่น ในภูมิภาค ประเทศหรือระหว่างประเทศ และไม่จำเป็นที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมาพบกันหรือมีการสื่อสารกันโดยตรง ธุรกิจอาจทำการซื้อขายโดยใช้ตัวกลางด้วยก็ได้

          34. Market Definition (คำจำกัดความของตลาด)
          จุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์การแข่งขันประเภทใด ๆ คือ คำจำกัดความของตลาด "ที่เกี่ยวเนื่อง" คำจำกัดความของตลาดมีสองลักษณะคือ (1) ตลาดสินค้า นั่นคือกลุ่มสินค้า และ (2) ตลาดในเชิงภูมิศาสตร์ นั่นคือ กลุ่มพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คำจำกัดความของตลาดจะพิจารณาทั้งอุปสงค์และอุปทาน ด้านอุปสงค์ สินค้าจะต้องทดแทนกันได้จากมุมมองของผู้ซื้อ ด้านอุปทาน ผู้ขายจะต้องรวมถึงผู้ซื้อมาผลิตหรือสามารถเปลี่ยนการผลิตไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือทดแทนกันได้ คำจำกัดความของตลาดโดยทั่วไปรวมถึงผู้ขายจริงและผู้ขายที่อาจเป็นไปได้ นั่นคือ บริษัทสามารถเปลี่ยนกระบวนการผลิตอย่างรวดเร็วเพื่อจำหน่ายสินค้าที่ทดแทนกันถ้าหากราคาสมเหตุสมผล ซึ่งบริษัทเหล่านี้มักจะลดความสามารถในการผลิตที่มีอยู่ในตลาดเพื่อที่จะขึ้นราคาสินค้าเหนือระดับที่มีการแข่งขัน สถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายถือว่าเป็นตลาดในเชิงภูมิศาสตร์อาจเป็นในท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศหรือระหว่างประเทศ ถ้าหากตลาดถูกกำหนดแคบเกินไปในแง่ของสินค้าหรือภูมิศาสตร์ อาจไม่รวมการแข่งขันเข้าไปในการวิเคราะห์ อีกประการหนึ่งถ้าหากตลาดสินค้าและภูมิศาสตร์ถูกกำหนดกว้างเกินไป ระดับการแข่งขันอาจเกินไปจากความเป็นจริง คำจำกัดความตลาดที่กว้างเกินไปหรือแคบเกินไปจะนำไปสู่การวัดส่วนแบ่งตลาดและการกระจุกตัวที่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป

          35. Market Power (อำนาจตลาด)
          อำนาจตลาด คือความสามารถของบริษัท (หรือกลุ่มบริษัท) ที่จะขึ้นหรือรักษาราคาเหนือระดับที่น่าจะเป็นหากมีการแข่งขัน การใช้อำนาจตลาดจะนำไปสู่ผลผลิตที่ลดลงและการสูญเสียทางเศรษฐกิจแม้ว่ามีการเสนอคำจำกัดความทางเศรษฐศาสตร์ของอำนาจตลาดที่ถูกต้อง แต่การวัดอำนาจตลาดที่แท้จริงไม่ใช่วิธีที่ง่าย การใช้อำนาจตลาดที่เกิดขึ้นจริงหรืออาจเกิดขึ้นจะถูกใช้เพื่อหาว่ามีการทำให้การแข่งขันลดลงอย่างเห็นได้ชัดเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ วิธีการนี้นำมาใช้ในการบริหารนโยบายการควบรวมกิจการในประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดาพยายามที่จะคาดการณ์ว่าหลังการควบรวมกิจการ บริษัทสามารถขึ้นราคาในระยะเวลาหนึ่งเหนือระดับเกณฑ์ที่กำหนด (เช่น 5 หรือ 10%) ได้หรือไม่ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่กรณีโดยไม่จูงใจให้บริษัทใหม่เข้าสู่ตลาดหรือผลิตสินค้าทดแทน

          36. Market Share (ส่วนแบ่งตลาด)
          ส่วนแบ่งตลาด เป็นการวัดขนาดของบริษัทในอุตสาหกรรมหรือตลาดในแง่ของสัดส่วนของผลผลิตหรือยอดขายหรือความสามารถในการผลิตทั้งหมด นอกจากกำไรแล้ว วัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทที่อ้างถึงเสมอคือการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ส่วนแบ่งตลาด กำไรและการประหยัดต่อขนาดมักจะสัมพันธ์กันในเชิงบวก และส่วนแบ่งตลาดที่สูงอาจทำให้บริษัทมีอำนาจตลาด

          37. Merger (การควบรวมกิจการ)
          การควบรวมกิจการ คือการรวมบริษัท (amalgamation) หรือการรวมกันของสองบริษัทหรือมากกว่านั้นเป็นบริษัทที่มีอยู่แล้วหรือเกิดเป็นบริษัทใหม่ การควบรวมกิจการเป็นวิธีการซึ่งบริษัทอาจเพิ่มขนาดหรือขยายเข้าไปในตลาดที่มีอยู่แล้วหรือตลาดใหม่ อาจมีแรงจูงใจต่าง ๆ สำหรับการควบรวมกิจการ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้ได้อำนาจตลาด เพื่อกระจายหรือขยายเข้าไปในตลาดภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินและการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น การควบรวมกิจการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
               (1) การควบรวมกิจการในแนวนอน (horizontal merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทซึ่งผลิตและขายสินค้าเหมือนกัน นั่นคือ ระหว่างบริษัทที่แข่งขันกัน การควบรวมกิจการในแนวนอน ถ้าหากมีผลต่อขนาดอาจลดการแข่งขันในตลาดแล้วองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันมักจะทบทวนอีกครั้ง การควบรวมกิจการในแนวนอนอาจถูกมองเป็นการรวมกันในแนวนอนของบริษัทในตลาดหรือข้ามตลาด
               (2) การควบรวมกิจการในแนวดิ่ง (vertical merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทซึ่งดำเนินการในขั้นตอนการผลิตที่ต่างกัน เช่น จากวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการจัดจำหน่ายตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเหล็กกล้าควบกิจการกับผู้ผลิตแร่เหล็ก ตามปกติการควบรวมกิจการในแนวดิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพแม้ว่าบางครั้งจะมีผลลดการแข่งขัน
               (3) การควบรวมกิจการแบบผสม (conglomerate merger) การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่นระหว่างผู้ผลิตรถยนตร์และบริษัทผลิตอาหาร

          38. Monopolization (การมีอำนาจผูกขาด)
          การมีอำนาจผูกขาด คือความพยายามโดยบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดหรือกลุ่มของบริษัทที่ค่อนข้างใหญ่เพื่อที่จะรักษาหรือเพิ่มการควบคุมตลาดโดยอาศัยพฤติกรรมที่ลดการแข่งขันต่าง ๆ เช่นการขายสินค้าตัดราคา ให้สิทธิในการซื้อก่อน (pre-emption of facility) และการจำกัดสิทธิ์ในการแข่งขัน

          39. Monopoly (การผูกขาด)
          การผูกขาด คือสถานะการณ์ซึ่งมีผู้ขายรายเดียวในตลาด ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจทั่วไปถือว่าการผูกขาดตรงข้ามกับการแข่งขันที่สมบูรณ์ จากการเปรียบเทียบการผูกขาดและการแข่งขันสมบูรณ์ ผลแสดงว่าผู้ผูกขาดจะกำหนดราคาสินค้าสูงขึ้น ผลผลิตต่ำลงและมีกำไรเหนือระดับปกติการผูกขาดแตกต่างจากอำนาจตลาดโดยอำนาจตลาดคือค่าซึ่งกล่าวถึงสถานการณ์ซึ่งบริษัทเผชิญกับเส้นอุปสงค์ขาลงและอาจขึ้นราคาเหนือระดับราคาแข่งขัน อำนาจตลาดอาจเกิดขึ้นไม่เพียงแต่เมื่อมีการผูกขาดแต่เมื่อมีผู้ขายน้อยรายมีการแข่งขันกึ่งผูกขาดหรือมีบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดด้วยการผูกขาดอาจจะยังคงมีอยู่ถ้าหากมีอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดซึ่งอุปสรรคดังกล่าวอาจร่วมกับการคุ้มครองทางกฎหมายที่เกิดจากลิขสิทธิ์และแฟรนไชส์ที่ผูกขาด

          40. Non-Price Predation (การกำหนดเงื่อนไขจำกัดที่ไม่ใช่ด้านราคา)
          การกำหนดเงื่อนไขจำกัดที่ไม่ใช่ด้านราคา เป็นรูปแบบของกลยุทธ์ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของคู่แข่งขันซึ่งมักจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและมีกำไรมากกว่าการขายตัดราคากัน วิธีที่เป็นแบบปฏิบัติรวมถึงการใช้กระบวนการทางกฎหมายหรือรัฐบาลเพื่อให้คู่แข่งขันเสียเปรียบ

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2440.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น