บริการสนับสนุนกิจกรรม การตลาดทางตรง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจถึงประเภทบริการต่าง ๆ ที่สามารถเลือกใช้ในการทำกิจกรรมด้านการตลาดทางตรงได้
2. สามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ได้ตรงตามความต้องการ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บทนี้จะได้อธิบายถึงบริการสนับสนุนต่าง ๆ ที่จะมีส่วนช่วยให้การดำเนินกิจกรรมการตลาดทางตรงของกิจการห้าบรรลุวัตถุประสงค์ได้ บริการเหล่านี้ได้แก่ บริการด้านการส่งจดหมาย การส่งพัสดุ การส่งสินค้า การเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และการชำระเงิน เป็นต้น
การจัดส่งข่างสาร และการส่งมอบสินค้าและบริการของกิจกรรมการตลาดทางตรง
การจัดส่งข่าวสาร และการส่งมอบสินค้าและบริการกิจกรรมการตลาดทางตรงมี 2 ลักษณะ ได้แก่
- สินค้าที่สามารถส่งผ่านการสื่อสารระบบคอมพิวเตอร์ได้ (soft-goods) โดยผู้สนใจสามารถ Download ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปยังผู้สั่งซื้อได้โดยตรง
- สินค้าที่มีตัวตนจับต้องได้ (hard-goods) ที่ต้องอาศัยการขนส่งแบบเดิมทั้งหมด
ส่วนข้อดีของระบบการขนส่งในปัจจุบันก็คือ สามารถติดต่อการเดินทางของสินค้าโดยผ่านจอเว็บบราวเซอร์ได้ วิธีนี้ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพื่อแลกกับคำสั่งซื้อที่มาเป็นตู้คอนเทนเนอร์
ปัญหาที่พบในการขนส่งของการตลาดทางตรงระหว่างประเทศมี 4 ประการ คือ
1. อัตราน้ำนักเริ่มต้นอยู่ในระดับสูง
2. ปัญหาการส่งของสด
3. การรับประกันของเสียหาย
4. การจัดส่งสินค้าประเภทเพชรพลอยจริง
อย่างไรก็ตามปัจจุบันกิจการด้านนี้มีการพัฒนารูปแบบและอัตราการให้บริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการตลาดมากมาย ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย บริการของบริษัทเฟดเดอแร็ลเอ็กซเพรส (FedEx) และบริษัทขนส่งและคลังสินค้า KPN-ST Logistics
บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
การสื่อสารแห่งประเทศไทยให้บริการด้านการส่งไปรษณีย์และพัสดุทั้งในและต่างประเทศสำหรับบริการในประเทศที่มีการให้บริการและเป็นประโยชน์อย่างมากมายกับกิจกรรมการตลาดทางตรงได้แก่
1. การส่งข่าวสารต่างๆ สามารถเลือกใช้บริการเหล่านี้ ดังต่อไปนี้
- จดหมาย (letter)
- ไปรษณียบัตร (postcard)
- จดหมายอากาศ (aerogramme)
2. การส่งสิ่งของทางไปรษณีย์
- ของตีสิ่งพิมพ์ (printed papers)
- พัสดุย่อย (small packet)
- พัสดุไปรษณีย์ (parcel)
3. วิธีการส่งเงินทางไปรษณีย์
- ไปรษณีย์ธนาณัติ (postal money order)
- ไปรษณีย์ธนาณัติส่งทาง EMS
- โทรเลขธนาณัติ (telegraph money order)
- ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (postal order)
4. วิธีการส่งเอกสารและสิ่งของสำคัญทางไปรษณีย์
- ไปรษณีย์รับรอง (certified mail)
- ไปรษณีย์ลงทะเบียน (registered mail)
- ไปรษณีย์รับประกัน (insured mail)
5. วิธีที่จะทำให้ทราบว่าใครเป็นผู้รับของที่ส่งไปรับไว้เมื่อใด
- ไปรษณีย์ตอบรับ (advice of delivery)
6. การให้ข่างสารหรือสิ่งของถึงมือผู้รับโดยเร็วเป็นพิเศษ
- บริการนำจ่ายด่วน (express delivery)
- บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS--Express Mail Service)
7. การฝากสิ่งของทางไปรษณีย์คราวละมาก ๆ
- บริการรับชำระค่าบริการเป็นเงินสด (postage prepayment in cash)
- บริการเครื่องประทับไปรษณีย์ยากร (franked mail)
- บริการรับฝากส่งนอกที่ทำการ (collection at sender’s premises)
- บริการธุรกิจตอบรับ (business reply service)
- บริการพัสดุไปรษณีย์เก็บเงิน (พ.ก.ง.) (cash on delivery)
- บริการ EMS ในประเทศเก็บเงิน (EMS cash on delivery)
- บริการรับฝากส่งไปรษณีย์ไม่มีจ่าหน้า (household delivery service)
- บริการตู้ไปรษณีย์เช่า (P.O.boxes)
กรณีที่กิจการต้องการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ไปต่างประเทศ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้มีบริการให้เลือกใช้ 3 ประเภทได้แก่
1. ไปรษณียภัณฑ์ (letter-post item)
2. พัสดุไปรษณีย์ (parcel post)
3. ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS)
โดยมีวิธีการขนส่งที่แตกต่างกัน 3 วิธีคือ
1. ทางอากาศ (by air mail)
2. ทางอากาศราคาประหยัด (by economy aie หรือ surface air-lifted)
3. ทางภาคพื้น (by surface mail)
รายละเอียดของการบริการทั้ง 3 ประเภทมีดังนี้
1. ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ส่งเฉพาะทางอากาศ ค่าบริการแบ่งเป็น 2 อัตรา
- Document หรือ Business paper และ
- Package
2. พัสดุไปรษณีย์ ส่งได้ 3 ทาง คือ
- ทางอากาศ มีบริการ 223 เมืองปลายทาง
- ทางอากาศราคาประหยัด มีบริการ 34 เมืองปลายทาง
- ทางภาคพื้น มีบริการ 223 เมืองปลายทาง
3. ไปรษณียภัณฑ์ มีบริการเหมือนพัสดุไปรษณีย์แต่มีข้อแตกต่างอยู่บ้าง คือ สามารถส่งไปได้ทุกประเทศในโลกนี้ พิกัดน้ำหนักเริ่มที่ 5 กรัม, 10 กรัม, 20 กรัม หรือ 50 กรัม แล้วแต่ประเภทไปรษณีย์และวิธีการขนส่งไปประเทศปลายทาง น้ำหนักสูงสุดแต่ละชิ้นไม่เกิน 2 กิโลกรัม สินค้าชิ้นเล็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมสามารถส่งเป็นไปรษณียภัณฑ์ได้
บริการส่งเสริมสินค้าของบริษัท FedEX
FedEX คือ บริษัทขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เร่งด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 เป็นบริษัทแรกที่ให้บริการขนส่งด่วนภายในข้ามคืน การให้บริการรับประกันคืนเงิน จนถึงการใช้คอมพิวเตอร์ติดตามการเดินทางของสินค้าและพัสดุภัณฑ์ได้โดยอัตโนมัติ
ศักยภาพเหนือคู่แข่งของ FedEX ที่ทำให้กิจการเป็นผู้นำในด้านการขนส่งด้วนทางอากาศ ได้แก่ การมีพนักงานทั่วโลกจำนวน 145,000 คน มีเครื่องบินของบริษัทจำนวนกว่า 663 เครื่อง มีการรับส่งพัสดุภัณฑ์กว่า 3.3 ล้านชิ้น ในแต่ละวันการทำการ มีจำนวนรถบรรทุกและรถขนส่งทั่วโลกกว่า 44,500 คัน FedEX ได้ดำเนินงานการให้บริการมา 27 ปี โดยได้รับการยินยอมรับจากธุรกิจต่าง ๆ ว่าเป็นผู้นำบริการขนส่งด่วนทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
บริษัท FedEX ได้จัดให้มีระบบการยืนยันการจัดส่งเครื่องมือถึงจุดหมาย (prof of delivery) โดยระบบการติดตามพัสดุที่ก้าวหน้า ทางด้านพิธีการศุลกากร กิจการจัดให้มีการเดินทางพิธีการศุลกากรแบบด่วนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (expressclear electronic customs clearance) กิจการสามารถส่งข้อมูลของสินค้านำเข้าให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ สถานีปลายทางในหลายประเทศทราบได้ก่อน
เครือข่าย FedEX AsiaOne (สามารถบริการส่งสินค้าด่วนข้ามคืนทั่วเอเชีย ด้วยเที่ยวบินสัปดาห์ละกว่า 260 เที่ยวภายในเอเชีย โดยมี hub หรือศูนย์ปฏิบัติการ 24 ชม. ณ ท่าอากาศซูบิคเบย์ ประเทศฟิลิปปินส์)
นอกจากนั้น FedEX ยังเพิ่มศักยภาพเครือข่าย AsiaOne ดวยเที่ยวบินสัปดาห์ล่ะ 11 เที่ยวสู่กรุงเทพฯ สามารถส่งภายในข้ามคืนถึง 17 เมืองหลักในเอเชีย
ธุรกิจให้บริการด้านการขนส่งและคลังสินค้า
กิจการที่ให้บริการด้านการขนส่งและคลังสินค้าในประเทศไทยได้แก่ บริษัท KPN-ST Logistics
การให้บริการด้านพิธีการศุลกากรมีรายละเอียดดังนี้
1. การให้บริการคลังสินค้า ทำหน้าที่ในด้านการรับสินค้า (receipt) การกระจายสินค้า (issue) การควบคุมสต็อก (inventory control) การให้บริการเสริม (มูลค่าเพิ่ม)
2. ระบบควบคุมคลังสินค้า โปรแกรม ILIS--Integrated Information System
3. รายงานต่าง ๆ ได้แก่ รายงานการรับสินค้า (receipt report) รายงานการจ่ายสินค้า (issue report) รายงานสินค้าคงคลัง (inventory/stock report) รายงานอายุการเก็บรักษา (aging report) รายปี/ไตรมาส/เดือน/สัปดาห์/วัน
4. การให้บริการเสริม (มูลค่าเพิ่ม) ได้แก่ การบรรจุหีบห่อสินค้า (packing/repacking) การติดฉลากสินค้า/บาร์โค้ด (labeling/barcoding) การสอบคุณภาพสินค้า (quality inspection) การรายงานจำนวนสินค้าทางอินเตอร์เน็ต
รูปแบบของการให้บริการสินค้า สามารถสรุปได้ 5 ประการได้แก่
1. ขายส่ง (wholesale)
2. ขายปลีก (retail)
3. ส่งด่วน/ส่งถึงบ้าน (express/door to door)
4. ส่งอย่างเดียว/ทั้งรับและส่ง (pure/mixed delivery)
5. ส่งพร้อมเก็บเงินปลายทาง (cash on delivery)
การบริการด้านการเงิน
ก็จะมีทั้งบริการด้านการเงินจากทางสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งได้มีการพัฒนาการให้บริการให้ทันสมัยและเหมาะสมกับการดำเนินการของการาตลาดทางตรงยิ่งขึ้น โดยจะให้ชำระเงินผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่าการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย บัตรเครดิต บัตรเครดิต/เดบิตเหมือนจริง และการชำระเงินด้วยวิธีเดิม
ระบบการรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินออนไลน์มีอยู่ 2 ระบบคือ
1. SSL (Secure Socket Layer) SSL เป็นระบบที่ใช้ในการสื่อสารระหว่าง Client และ Server
2. SET (Secure Electronic Transactions) ปัจจุบันมีอยู่ 34 ประเทศ ซึ่งระบบนี้จะมีความปลอดภัยกว่าระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ระบบ SET จะมีข้อแตกต่างจากระบบ SSL ตรงที่ระบบ SET จะมีดารยืนยันฝั่งผู้ถือบัตรเครดิตด้วยว่าเป็นตัวจริง
ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=890.0
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น