วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

Lifestyle Marketing : กลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาด

Lifestyle Marketing : กลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาด

          ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจการตลาดต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ อีกทั้งอิทธิพลของสื่อก็มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย เนื่องจากเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างนักการตลาดและผู้บริโภค

          จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้นักการตลาดเล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะทางด้าน lLifestyle ของผู้บริโภค ดังนั้น Lifestyle จึงกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญของการกำหนดทิศทางการตลาดของหลาย ๆ บริษัท เพื่อที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถค้นพบถึงความต้องการที่ซ่อนอยู่ในใจของผู้บริโภคและสามารถตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว (economy of speed) และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับคู่แข่งขันรายใหญ่ได้ ดังนั้น การตลาดในศตวรรษนี้จึงไม่ควรมองข้าม "Lifestyle Marketing"

          ดังนั้น "Lifestyle Marketing" คือ การที่นักการตลาดนำวิถีชีวิตของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมาประยุกต์ใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด โดยการศึกษาในเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนักการตลาดจะได้นำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ตัวอย่างขององค์กรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กลยุทธ์การแข่งขันแบบ Lifestyle Marketing

KTC หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงโดย "Lifestyle Marketing"

          นักการตลาดสามารถใช้กลยุทธ์ Lifestyle Marketing ได้โดยการนำ Lifestyle ของผู้บริโภคมาแบ่ง segment ควบคู่ไปกับการแบ่ง segment แบบ demographic ทำให้นักการตลาดไม่ได้มีแต่ข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรู้ไปถึงอุปนิสัยใจคอ ตลอดจนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคอีกด้วย เพื่อที่นักการตลาดจะได้นำเสนอสินค้าและบริการให้เข้าถึงตัวลูกค้าได้มากขึ้น จนกระทั่งทำให้เกิด competitive advantage หรือความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในภาวะการณ์ที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงได้

          ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างของ การเปิดตัว "KTC VISA MINI" ของบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC ซึ่งเป็นบัตรเครดิตขนาดเล็กใบแรกของเมืองไทยที่ครอบคลุมทุกรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อตอบสนอง Lifestyle ของคนรุ่นใหม่ ที่มาของการออกบัตรเครดิตในรูปแบบใหม่นี้เกิดจาก การวิจัยความต้องการของลูกค้าในการใช้บัตรเครดิต ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่า ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้น KTC จึงได้ทำการแบ่ง segment ลูกค้าตามลักษณะ Lifestyle ที่แตกต่างกันของลูกค้า เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามบัตรที่ลูกค้าเลือก เช่น Auto Card สำหรับกลุ่มที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับรถยนต์ หรือคนรักรถ, Entertainment Card เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ชอบกิน ดื่ม เที่ยว และดิ้น หรือTravel Card ก็เหมาะสำหรับกลุ่มที่ชอบการท่องเที่ยว เป็นต้น

          จะเห็นได้ว่า "KTC VISA MINI" มีจุดแข็งอยู่ที่ การมองหา segment ใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏในตลาดบัตรเครดิตบ้านเรา โดยทำการแบ่ง segment ตาม Lifestyle ของลูกค้า แล้วทำการนำเสนอบัตรเครดิตให้ตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทำให้ KTC สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดบัตรเครดิตบ้านเราได้ ไม่ว่าจะเป็น City Bank, American Express, Master Card หรือบัตรเครดิตของธนาคารคู่แข่งอื่น ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ เชื่อได้ว่า KTC จะต้องออก "KTC VISA MINI" ในรูปแบบ Lifestyle อื่นอีกอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาด "Lifestyle Marketing"

"Lifestyle Marketing" ในรูปแบบของการสื่อสารการตลาดของ TOYOTA

          Lifestyle Marketing ไม่ใช่แค่เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยนักการตลาดในการนำเสนอสินค้าและบริการเท่านั้น แต่ Lifestyle Marketing ยังช่วยในการสื่อสารทางการตลาด โดยทำการโฆษณาไปยังผู้บริโภค เพื่อเป็นการบอกถึงความเป็นตัวของตัวเอง และตอกย้ำผู้บริโภคว่า เขาได้เลือกในสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว โดยการนำ Presenter ที่มี Lifestyle ตรงกับผู้บริโภค มาทำการโฆษณา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ TOYOTA ก็ได้นำกลยุทธ์นี้ มาเป็นเครื่องมือทางการแข่งขันทางการตลาด

          โดย TOYOTA ได้ทำการ Launch โฆษณา 3 ชุด ภายใต้ concept ที่ว่า "Yes, We Drive(TOYOTA)" ผ่าน presenter 3 คน ซึ่งแต่ละคนก็จะมี Lifestyle ที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคว่า "ถ้าคุณมี Lifestyle แบบนี้ คุณเหมาะแล้วที่จะใช้รถแบบนี้" ซึ่งกลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่ผู้บริโภคประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และมีความภูมิฐาน เป็นคนที่คิดเป็นวางแผนเป็น โดยกลุ่มนี้ TOYOTA ใช้ "ก้อง-สหรัฐ" เป็น presenter เพื่อสื่อถึง Lifestyle ที่ตรงกับผู้บริโภค ภายใต้concept "Yes, We Drive Camry" ส่วนกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว และเท่ ถือเป็นคนรุ่นใหม่ หรือเป็น First Jobber คือเป็นคนไม่หยุดนิ่ง กำลังค้นหาหรือต้องการอะไรที่รวดเร็ว มีความแรงอยู่ในตัว ซึ่ง presenter ที่เหมาะกับ Lifestyle เช่นนี้ ได้แก่ "ซาร่า มาลากุลเลน" ภายใต้ concept "Yes, We Drive VIOS" และกลุ่มสุดท้าย ได้แก่ คนที่ทำงานแล้ว แต่ยังมีความแรงอยู่ในตัว ซึ่งใช้ "ชาคริต แย้มนาม" มาเป็น presenter เพื่อสื่อถึง Lifestyle ที่ยังมีความแรง มีเสน่ห์ และสุขุม ผ่าน concept "Yes, We Drive Altis"

          ซึ่งโฆษณาแคมเปญนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นผลทางด้านการตลาด หรือกระแสของผู้ที่ชมโฆษณา เนื่องจากแคมเปญนี้ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากโฆษณาตัวอื่น ๆ คือการเลือกใช้ Lifestyle ของ presenter มานำเสนอ

          ดังนั้น Lifestyle Marketing จึงเหมาะกับการทำการตลาดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่ใช่แค่การนำเสนอสินค้าและบริการ ให้เหมาะกับ Lifestyle ของผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังสามารถนำเสนอโฆษณาที่แสดงถึง Lifestyle ของ presenter เชื่อมกับ Lifestyle ของผู้บริโภค ซึ่งถือได้ว่า Lifestyle Marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม ซึ่งนี้เป็นสิ่งที่ก็ต้องคอยจับตาทั้งนักการตลาดและผู้บริโภค เพื่อดูว่าบริษัทไหนจะเป็นรายต่อไป ที่งัดเอากลยุทธ์ Lifestyle Marketing มาต่อกรกับคู่แข่งขัน ภายใต้กระแสการแข่งขันทางธุรกิจที่กำลังรุนแรง อย่างเช่นในปัจจุบันนี้

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=510.0

กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด Marketing Mix Strategy

กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด Marketing Mix Strategy 

          สิ่งที่จะสนองความต้องการของลูกค้าได้ มีอยู่ 4 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ทั้ง 4 ประการจะต้องสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างกลมกลืน

1. ผลิตภัณฑ์           
          ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่จะสนองความต้องการของลูกค้า อาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ จะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                 - แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์ ต้องรู้ว่าสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคืออะไร
                 - คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวะ ความงาม ความทนทาน รูปร่างรูปแบบของผลิตภัณฑ์
                 - จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นลักษณะเด่นเป็นพิเศษกว่าสินค้าอื่น
                 - ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ เป็นผลประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์มีต่อลูกค้า มี 2 ด้านคือ ผลประโยชน์โดยหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ และผลประโยชน์ทางด้านอารมณ์
                 - ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ คือความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปเรามักจะมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด ส่วนประสมทางผลิตภัณฑ์อาจแบ่งออกตามชนิด ตามรุ่น ตามขนาด ตามลักษณะจัดจำหน่ายหรือตามความเกี่ยวข้องกันของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
                 - ตราสินค้า เป็นการบรรยายถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจเป็นคำพูด สัญลักษณ์ หรือรวมกัน โดยทั่วไปเจ้าของผลิตภัณฑ์มักใช้ตราสินค้า มาจำแนกสินค้าให้เห็นว่าแตกต่างจากสินค้าของคนอื่นและทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าได้ง่าย ตราสินค้ามีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ผู้บริโภคหันกลับมาซื้อสินค้าของเราในโอกาสหน้าอีก
                 - บรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งที่หุ้มห่อสินค้า อาจทำหน้าที่ในการบรรจุ หุ้มห่อ รวมทั้งสื่อสารทางการตลาด โดยบรรจุภัณฑ์จะเป็นตัวที่ช่วยสนองความต้องการของลูกค้า ในบางกรณีบรรจุภัณฑ์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจทำให้ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้นได้

2. ราคา
                 - ราคาเป็นส่วนประสมทางการตลาดเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกิดรายได้
                 - องค์ประกอบหลักในการกำหนดราคาต่ำสุดคือ ต้นทุนการผลิต และองค์ประกอบในการกำหนดราคาสูงสุดคือ คุณค่าในสายตาของผู้บริโภค
                 - วิธีการกำหนดราคา มี 3 ประเภท คือ
                    1) พิจารณาจากต้นทุน
                    2) พิจารณาจากลูกค้า
                    3) พิจารณาจากคู่แข่งขัน
                 - การกำหนดราคาเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมากในการบริหารธุรกิจ ในการกำหนดราคาจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องวัตถุประสงค์ของการกำหนดราคา เช่น ลดราคาเพื่อสกัดคู่แข่ง ตั้งราคาต่ำเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการได้ลูกค้าใหม่ ลดราคาเพื่อไล่ตามคู่แข่ง สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การทำให้ลูกค้ายอมรับในการเปลี่ยนแปลงราคา
                 - ประเด็นสำคัญของราคาไม่ได้อยู่ที่ตั้งไว้ที่ราคาเท่าไหร่ หากแต่ขึ้นกับการเปรียบเทียบระหว่างราคาของสินค้า กับคุณค่าของสินค้าที่มีต่อผู้บริโภค หากลูกค้ารู้สึกว่าสินค้ามีคุณค่ามากกว่าราคา เขาก็จะยินดีซื้อสินค้าในราคาที่กำหนด

3. ช่องทางการจัดจำหน่าย
          ช่องทางการจัดจำหน่าย มีความหมายครอบคลุมในเรื่อง การนำสินค้าจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค การควบคุมปริมาณสินค้า การขนส่ง การติดต่อสื่อสาร จนกระทั่งเรื่องประเภทของร้านจำนวนของร้าน โกดัง การกระจายทางกายภาพ วิธีการกระจายสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องคำนึงถึง
                    1) การเข้าถึง เช่น การใช้สื่อ การกระจายสินค้าไปหาลูกค้าให้ตรงตามพฤติกรรม ลักษณะนิสัยความต้องการ ฯลฯ
                    2) ขายสินค้าได้ จะเกิดหลังจากที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้แล้ว
                    3) รักษาไว้ คือ สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดการซื้อขายต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าอยู่กับเราตลอดไป

ข้อพิจารณาในการเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่
                    1) พื้นที่ครอบคลุม ซึ่งอาจครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เป็นไปได้ ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เลือกสรร หรือครอบคลุมพื้นที่เพียงจุดเดียว
                    2) ประเภทของร้านค้าปลีก
                    3) ผลประโยชน์ที่ต้องให้กับร้านค้า

4. การส่งเสริมการตลาด
          หมายถึง ความพยายามทั้งสิ้นที่จะส่งเสริมให้การตลาดบรรลุเป้าหมายได้ ทำให้ลูกค้ามาซื้อสินค้า สนใจสินค้าของเรา ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสินค้าและรักษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง

การส่งเสริมการตลาดประกอบไปด้วย
                    1) การแจ้งข่าวสารข้อมูล
                    2) การโน้มน้าวชักจูงใจ
                    3) การเตือนความจำ ประกอบไปด้วย
                         - การโฆษณา
                         - การส่งเสริมการขาย
                         - การขายโดยใช้พนักงาน
                         - การประชาสัมพันธ์
                         - การพูดแบบปากต่อปาก

          1. การโฆษณา เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ที่มีประสิทธิภาพสำหรับตลาดแบบมวลชน มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวสาร ทำให้เกิดการรับรู้ สร้างสรรความรู้สึกที่ดีต่อสินค้า และทำสร้างการเรียนรู้เร่งเร้าให้เกิดการซื้อ
          2. การส่งเสริมการขาย เป็นการสื่อสารทางเดียวเกี่ยวกับเนื้อหาที่น่าสนใจเฉพาะอย่าง ทำให้เกิดแรงจูงใจระยะสั้น ๆ มีวัตถุประสงค์ทำให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้และแนะวิธีการใช้สินค้า
          3. การขายด้วยพนักงานขาย เป็นการสื่อสารสองทางที่มีคุณภาพสูงโดยผ่านการพูดคุยหรือชี้แนะการใช้สินค้าต่อผู้บริโภคแต่ละคนโดยตรง มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวสารข้อมูลพิเศษให้กับผู้ที่จะเป็นลูกค้า
          4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารทางเดียวเกี่ยวกับข่าวสารในเชิงพานิชย์ของสินค้าผ่านสื่อสาธารณะมีลักษณะเป็นการเสนอข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ การประเมินผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและสนับสนุนการตัดสินใจ
          5. การพูดปากต่อปาก เป็นการสื่อสารสองทาง มีลักษณะเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและ สนับสนุนการตัดสินใจ การพูดแบบปากต่อปากมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมาก โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาสูง และสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=510.0

พลิกวิกฤติด้วยแผนกลยุทธ์ของนักประกอบการ กลยุทธ์การตลาด

พลิกวิกฤติด้วยแผนกลยุทธ์ของนักประกอบการ

พลิกวิกฤติด้วยแผนกลยุทธ์ : Defense "Crisis" with "Strategic Management"

          ในสถานการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าให้ธุรกิจที่อ่อนแอต้องล้มหายไป คงเหลือแต่ผู้แข็งแกร่งที่ต่อสู้กับอุปสรรคนานัปการเพื่อความอยู่รอด และมีความหวังในการเจริญเติบโต ผู้บริหารองค์การต้องใช้ความสามารถและความเข้าใจ ทำการปรับตัวและฉกฉวยโอกาสที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ผู้บริหารในฐานะผู้นำต้องสามารถกำหนดทิศทางและนำพาองค์การไปสู่จุดหมายที่ต้องการด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถนี้เรียกว่า การจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategic management) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและข้อมูลสำคัญของธุรกิจที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจ การวางแนวทางการดำเนินงาน และการควบคุมการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าองค์การสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถมีพัฒนาการและสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคาดหวังในความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน (sustainability)

          กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้ความเชื่อมโยงในทางธุรกิจมีความรุดหน้าเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เกิดในซีกโลกหนึ่ง เพียงชั่วพริบตาอีกซีกโลกหนึ่งได้รับรู้อย่างฉับไว ธุรกรรมทางธุรกิจจึงกลายผนึกเป็นมวลเดียวกัน เมื่อจุดหนึ่งของโลกเกิดภาวะวิกฤติ ย่อมส่งผลต่อจุดอื่น ๆ ไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ที่อ่อนแอจะถูกกำจัดไปตามกลไกของการแข่งขัน ผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นที่ฝ่าฟันให้ผ่านพ้นวิกฤตินั้นไปได้ การเพิ่มความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการต่อสู้ช่วยให้ธุรกิจแข็งแกร่งและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
          ผู้บริหารขององค์การทางธุรกิจเป็นผู้สำคัญที่สุดในการแก้ไขวิกฤติและนำพาให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้า เป็นผู้ที่ต้องอาศัยชั้นเชิงในการบริหารที่เหนือกว่าคู่แข่ง หรืออาศัยความว่องไวในการปรับตัวให้ทันต่อภาวะการแข่งขันที่เกิด ขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์ (strategic management) จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้บริหารกำหนดทิศทางของธุรกิจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ ช่วยกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การ เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติ และควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์การได้ การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ การวางแผนอย่างมีขั้นตอน (Mazzola,P, Marchisio,G.and Astrachan, J. 2008.) ของผู้นำองค์การเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการแก้ไขวิกฤติขององค์การได้ มีการพิจารณาเลือกกลยุทธ์และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การ
          การจัดการเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องภายในกิจการเริ่มที่ผู้บริหารจะตระหนักถึงการรักษาความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (competitive advantage) มีบทบาทที่จะเป็นฝ่ายรุก (proactive)มากกว่าการเป็นฝ่ายรับ (reactive) และป้องกันตัว (defensive) ผู้บริหารต้องมีความตื่นตัว เห็นโอกาสใหม่ๆและใช้โอกาสเหล่านั้นเพื่อนำจุดแข็งขององค์การออกมามาใช้ให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การได้ มีการยกระดับผลการปฏิบัติงานให้ไปในทิศทางที่ชัดเจนแนวเดียวกันโดยมุ่งหวังให้องค์การปฏิบัติโดยอาศัยความร่วมมือด้วยพันธะผูกพัน (commitment) และทรัพยากรในองค์การ ให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (strategic decision making) เพื่อความอยู่รอดจากวิกฤติสู่ความสำเร็จด้วยประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ไปพร้อมกัน
          ในการบริหารเชิงกลยุทธ์มีผู้บริหารในองค์การ 3กลุ่มที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มแรกเป็นผู้บริหารระดับสูง (Chief Executive Officer--CEO) ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดทิศทาง มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อการวางกลยุทธ์ขององค์การในการแก้ไขวิกฤติ (Chief Strategy-maker) และการสั่งการให้มีการนำแผนไปปฏิบัติ (chief implementer) ในกลุ่มที่สองผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ (line manager) เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานโดยตรง มีข้อมูลที่แท้จริง หากทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์แล้ว การพร้อมใจยอมรับนำไปปฏิบัติจะเกิดขึ้นได้อย่างดี ในกลุ่มที่สามผู้บริหารให้คำแนะนำปรึกษา (staff manager) ซึ่งมีหลายหน่วยงาน เช่นฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายวิจัยวางแผน ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น หน่วยงานเหล่านี้ต้องร่วมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้วางแผนกลยุทธ์เพื่อช่วยประสานกิจกรรมของฝ่ายต่างๆให้มีการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนเป็นไปอย่างเรียบร้อย
          การวางแผนกลยุทธ์ที่บุคลากรในทุกภาคส่วนขององค์การเข้าร่วม ต้องมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานด้วยการเริ่มที่การพัฒนาแผนกลยุทธ์ (strategic formulation) โดยนำข้อมูลที่มาจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกขององค์การ มาประมวลแล้วจึงกำหนดแผนระยะสั้นและระยะยาว ทั้งที่เป็นเป้าหมายและส่วนที่เป็นกลยุทธ์หลักที่จะใช้ในการแข่งขัน จากนั้นเป็นการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ  (strategic implementation) แล้วจึงไปสู่การติดตามและประเมินผลกลยุทธ์ (strategic evolution and control) การดำเนินการทั้ง 3 ขั้นตอนมีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อกัน การที่องค์การประสบผลสำเร็จได้มิใช่มาจากกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง หากแต่การเชื่อมโยงในแต่ละกระบวนการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

กรอบแนวคิด กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อแก้ไขวิกฤติ

          ในการพัฒนาแผนกลยุทธ์โดยเริ่มจากการกำหนดภารกิจหลักขององค์การ (mission) ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์การด้วย โดยเริ่มจากผู้บริหารระดับสูงสุดจัดตั้งคณะกรรมการเป็นทีมวางแผนกลยุทธ์ เป็นผู้กำหนดแผน การกำหนดภารกิจหลัก วัตถุประสงค์หลัก และ นโยบายหลักขององค์การขอบเขตของการดำเนินการในปัจจุบันและอนาคต ถือเป็นภารกิจหลัก (mission) ครอบคลุมในประเด็นต่างๆ กิจกรรมธุรกิจ ตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความต้องการของลูกค้า พิจารณาในเรื่องห่วงโซ่คุณค่าของกิจการ (value chain) ผลประโยชน์ที่จะตอบสนองต่อกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ (stakeholders) การจัดหาเงินทุน นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์และบริการ (innovation) ผู้บริหารต้องตัดสินใจได้ว่าเมื่อใดที่ควรมีการปรับปรุง ต้องสื่อสารสู่พนักงานอย่างทั่วถึงชัดเจน เพื่อเกิดความกระตือรือล้นเพื่อให้พนักงานเกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
          วัตถุประสงค์หลัก (corporate objective)เป็นเป้าหมายที่องค์การต้องการบรรลุถึง โดยองค์การต้องกำหนดวัตถุประสงค์หลักที่ชัดเจน (specific) สามารถวัดได้ (measurable) มีขอบเขตเวลา  (time)และเป็นลายลักษณ์อักษร (document) ในเรื่อง การเจริญเติบโต (growth) ในผลกำไร (profit) การเจริญเติบโตในทรัพย์สิน (return on asset) ยอดขาย (sales) ส่วนแบ่งทางการตลาด ผลกำไร (profit) อัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (return on equity) ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (return on investment) เงินปันผล (dividend payout) หรือ ความพึงพอใจของพนักงาน (employee satisfaction)
          นโยบายหลักขององค์การ (corporate policy) ต้องแสดงถึงแนวทางการดำเนินงานที่จะให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยทั่วไปนโยบายหลักขององค์การจะสะท้อนถึงปรัชญา (Wang,Y.2008.) ในการทำงานขององค์การนั้น (philosophy of work) เช่น มุ่งสู่ความเป็นเลิศ รับผิดชอบต่อสังคม หรือเชื่อมั่นในคุณค่าของคน
          สิ่งที่ควรทำควบคู่กันไปกับการวางภาระกิจคือการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ซึ่งแบ่งได้ออกเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ทำโดยการวิเคราะห์ปัญหาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีตรวมถึงในปัจจุบันที่กำลังดำเนินการอยู่ มีการประเมินทรัพยากรต่างๆที่องค์การมีอยู่ (Christie,J.; Esper,T.; Turnipseed,F,; Rapert,M.2002) ประเมินผลถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ (critical success factors) ประเมินตำแหน่งของการแข่งขันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (competitive position) ซึ่งผลสรุปที่ได้ผู้บริหารต้องทำการจัดกลุ่มโดยใช้แนวคิดของ SWOT Analysis จะได้ข้อมูลที่เป็นจุดแข็ง (strength) และข้อมูลที่เป็นจุดอ่อน (weakness)
          ส่วนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกผู้บริหารต้องวิเคราะห์ว่าสภาพแวดล้อมใดบ้างที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ สภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางการเมือง (Gao,Y.2009) และกฎหมาย สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมของภาวะการเงินโลก ในเรื่องสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม (industry) พิจารณาขนาดอุตสาหกรรมว่ามีขนาดเป็นอย่างใดเพื่อให้สามารถกำหนดขนาดของส่วนแบ่งการตลาดและการพิจารณาศักยภาพการตลาด มีการพิจารณาอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม และโครงสร้างทางอุตสาหกรรมว่ามีแรงดึงดูดใจต่อผู้เข้ามาร่วมการแข่งขันโดยวัดจากศักยภาพในการทำกำไรที่มากน้อยซึ่งขึ้นอยู่กับแรงผลักดันของการแข่งขัน (competitive forces)ซึ่งเสนอแนวคิดนี้โดย Michael E.Potter โดยมีแนวคิดว่าแรงผลักดันนี้ประกอบด้วย แรงผลักดันจากผู้เข้ามาในอุตสาหกรรมรายใหม่ (new entrant) แรงผลักดันจากอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (buyers) แรงผลักดันจากอำนาจต่อรองของผู้ขาย (sales)แรงผลักดันจากสินค้าทดแทนและแรงผลักดันจากจำนวนผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนั้น ผลสรุปที่ได้ผู้บริหารต้องทำการจัดกลุ่มโดยใช้แนวคิดของ SWOT Analysis เช่นกัน จะได้ข้อมูลที่แสดงถึงโอกาส (opportunity) และข้อมูลที่เป็นข้อจำกัด (threat) อย่างไรก็ตามข้อมูลที่อุตสาหกรรมหนึ่งมองเห็นเป็นข้อจำกัด แต่อีกอุตสาหกรรมหนึ่งจะเป็นโอกาส หรือบางครั้งจุดอ่อนขององค์การเป็นมุมมองในอุตสาหกรรมหนึ่ง อาจเป็นจุดแข็งในอุตสาหกรรมอื่นก็เป็นได้
          การนำกลยุทธ์ไปใช้ในการดำเนินการสามารถแบ่งออกเป็นกลยุทธ์ 3ระดับ ได้แก่กลยุทธ์ระดับองค์การ (corporate strategy) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (business strategy) และกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (functional strategy) ในกลยุทธ์ระดับองค์การใช้การวางแผนโดยการมองภาพองค์การ เน้นความสำคัญของกลยุทธ์ในเรื่องการแก้ไขวิกฤติหรือความมีเสถียรภาพของธุรกิจโดยมีการดำเนินการหลายรูปแบบเช่น กลยุทธ์สร้างผลกำไร (profit strategy) เป็นการเร่งสร้างผลกำไรในระยะสั้น การหยุดลงทุนในทุกรูปแบบ หรือกลยุทธ์การดำเนินงานด้วยความ เป็นกลยุทธ์ที่ดำเนินงานไปอย่างช้าเพื่อดูทิศทางของธุรกิจ รอจนกว่าแน่ใจ สำหรับกลยุทธ์ที่เน้นการเจริญเติบโต (growth strategy) เน้นเรื่องการเพิ่มยอดขาย การลดต้นทุนการผลิต โดยเพิ่มความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเดิม มีการลดจำนวนคู่แข่งด้วยการซื้อกิจการหรือการรวมกิจการ หรือใช้วิธีการขยายธุรกิจโดยการเข้าซื้อกิจการที่เป็นต้นน้ำหรือปลายน้ำเพื่อการลดต้นทุนหรือการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย
          ท้ายสุดเป็นกลยุทธ์เน้นการลดขนาดการดำเนินงาน (retrenchment strategy) ใช้กรณีที่ธุรกิจประสบปัญหา ด้วยการใช้กลยุทธ์การปรับตัว (turn-around strategy) เป็นการเน้นการปรับปรุงองค์การในด้านประสิทธิภาพโดยการเริ่มลดต้นทุน ลดการลงทุน แล้วจึงดำเนินการวิเคราะห์หาทางปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพมุ่งไปสู่การขยายธุรกิจกลับไปสู่จุดเดิม หรือการใช้กลยุทธ์การหยุดลงทุน (divestment strategy) ด้วยการหยุด ยุบ หรือขายหน่วยงานนั้นออกไป นอกจากนี้อาจใช้กลยุทธ์หยุดดำเนินงาน (liquidation strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เป็นทางเลือกสุดท้ายที่เห็นว่าไม่ต้องการให้ธุรกิจดังกล่าวมีอยู่ต่อไป กลยุทธ์ทั้งหมดที่กล่าวมาอาจนำมาใช้โดยวิธีผสมผสานโดยสอดคล้องกับประเภทธุรกิจและสภาพทางธุรกิจที่เกิดวิกฤติในขณะนั้น
          ในแนวคิดของ Kim และ Mauborge ได้เสนอกลยุทธ์ Blue Ocean เป็นกลยุทธ์ระดับธุรกิจที่สามารถแก้ไขวิกฤติได้ โดยมีหลักสำคัญในเรื่อง นวัตกรรมคุณค่า (value innovation) ด้วยการสร้างคุณค่าแบบก้าวกระโดดให้แก่ลูกค้าเป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในตลาดซึ่งไม่มีการแข่งขัน เน้นที่มีการปรับระดับของนวัตกรรมตอบสนองต่อความต้องการและกำลังซื้อของลูกค้า กลยุทธ์ที่เลือกระหว่างการสร้างความแตกต่างกับต้นทุนต่ำ ทำให้เกิดกลยุทธ์ Red Ocean แต่กลยุทธ์ Blue Ocean นั้นองค์การต้องมุ่งมั่นในการสร้างความแตกต่างและต้นทุนต่ำในเวลาเดียวกันด้วยการกำจัดความคิดที่ยึดติดในอุตสาหกรรมมานาน ลดคุณค่าเดิมให้เทียบเท่ามาตรฐานของธุรกิจเรา สร้างสิ่งที่ไม่เคยมีคนเสนอในอุตสาหกรรมมาก่อนและยกระดับคุณค่าใหม่ให้เหนือกว่าเส้นมาตรฐานของเรา
          กลยุทธ์ระดับธุรกิจที่นำมาใช้สำหรับกิจการขนาดใหญ่ที่มีกำลังผลิตจำนวนมากจำเป็นต้องมีการลดต้นทุนเพื่อสามารถแข่งขันได้ หรือมีการขยายตลาดไปตลาดใหม่ภายนอกประเทศเพื่อรองรับการผลิตที่มีมาก จึงจำเป็นที่ผู้บริหารต้องมีมุมมองและความเข้าใจในระดับโลก (global competition) ผลประโยชน์ที่ผู้บริหารนำมาเป็นเป้าหมายจะเป็นในเรื่อง การลดต้นทุนดำเนินการ การเพิ่มยอดขายและกำไร การสร้างความมั่นใจในการเจริญเติบโต และในเรื่องการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินการ (Johanson,M. and Johanson, J.2006.) แต่อุปสรรคที่ต้องตระหนัก เป็นในเรื่องของธุรกิจต้องเผชิญกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมถึงความเสี่ยงทางการเมืองระดับโลกและในแต่ละประเทศ กลยุทธ์ที่จะนำไปวางแผนปฏิบัติต้องพิจารณาในเรื่องปลีกย่อยของ ภาษา วัฒนธรรม การเมืองและการแทรกแซงโดยรัฐ (Gao,Y.2009) เศรษฐกิจ การโทรคมนาคม การควบคุมแลตรวจสอบ กฎหมายและสัญญา และแรงงาน
          สำหรับการวางแผนกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจ (business strategy) เป็นการพัฒนากลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจโดยเริ่มจากการศึกษาภารกิจ (mission) ของหน่วยธุรกิจ (Strategy Business Unit--SBU) จากนั้นทำการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน SBU นั้น ๆ เช่นเดียวกับที่องค์กรโดยส่วนรวมต้องวิเคราะห์สถานะการณ์เพื่อสามารถจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ สิ่งใดเป็นจุดเด่น จุดด้อย โอกาส หรือข้อจำกัด ต้องคำนึงถึงวัตุประสงค์หลัก นโยบาย และกลยุทธ์หลักขององค์การด้วย ทำการประมวลข้อมูลเหล่านี้ โดยดูจากวัตถุประสงค์ของ SBU และเลือกกลยุทธ์ให้เหมาะสม Michael E. Porterได้เสนอแนวคิดกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจ เพื่อให้เป็นฐานการแข่งขันกับคู่แข่งขันดังนี้ (Ormanidhi,O and Stringa,O.2008)
          ประการแรก กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นให้เป็นเป็นผู้มีต้นทุนต่ำ (cost leadership) โดยการที่ธุรกิจพยายามขยายขนาดการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดต้นทุนการดำเนินงาน ประการที่สอง กลยุทธ์ที่พยายามสร้างความแตกต่าง (differentiation) เน้นการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ (unique) ของตัวธุรกิจเองให้ผู้บริโภคได้รับทราบ ให้เห็นว่าแตกต่างไปจากคู่แข่ง ประการที่สาม กลยุทธ์การเน้นเฉพาะจุด (focus) เป็นการดำเนินงานในธุรกิจเพื่อสนองความต้องการลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง หรือเสนอขายสินค้า และบริการในเขตใดเขตหนึ่งโดยเฉพาะ กลยุทธ์นี้จะมีผลกำไรสูง แต่มีส่วนแบ่งการตลาดที่ต่ำ กลยุทธ์เน้นเฉพาะจุดนี้ อาจใช้เน้นในเรื่องต้นทุน (Ormanidhi,O and Stringa,O.2008.) โดยสร้างข้อได้เปรียบในเรื่องต้นทุน
          กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (functional strategy) การวางแผนกลยุทธ์ในระดับนี้เป็นกลยุทธ์ของแต่ละหน้าที่ของงาน เช่น หน้าที่การตลาด หน้าที่การผลิต หน้าที่บริหารการเงิน เป็นต้น กลยุทธ์ในหน้าที่แต่ละด้านจะต้องสนับสนุนและสอดคล้องกัน รวมถึงต้องสนับสนุนกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจด้วย นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น วงจรชีวิตสินค้า สภาวะการแข่งขัน และลักษณะของอุตสาหกรรมนั้น การกำหนดกลยุทธ์ในระดับหน้าที่นี้ไปปฏิบัติ
          ภายหลังทำการวางแผนกลยุทธ์ในทุกระดับ ผู้บริหารต้องมีการประเมินกลยุทธ์ (evaluation of strategy) ซึ่งมีผลต่อเนื่องถึงความสำเร็จในการแก้ไขวิกฤติหรือล้มเหลว การประเมินกลยุทธ์เพื่อให้แน่ใจว่า กลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นเหมาะสมกับความต้องการของสถานะการณ์ขององค์การ การที่ผู้บริหารจะตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ใดมาใช้ในการดำเนินงาน ต้องทำการวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย แต่ละทางเลือก เพื่อให้แน่ใจว่า ทางเลือกนั้นเกิดประโยชน์แก่องค์การ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ซึ่งการประเมินกลยุทธ์มีหลักเกณฑ์ ดังนี้ พิจารณาเป้าหมายที่ถูกกำหนดในกลยุทธ์ สามารถบรรลุผลได้หรือไม่ นโยบายในทางปฏิบัติครอบคลุมในทุกเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันหรือไม่ กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่กับโอกาสทางธุรกิจที่มีอยู่หรือไม่ กลยุทธ์ที่พัฒนานั้นมีความเสี่ยงภัยอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ เป้าหมายและวิธีปฏิบัติ ในกลยุทธ์นั้นมีความเหมาะสมกับกำลังและความสามารถขององค์การหรือไม่ ผู้ที่รับผิดชอบต่อการกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เพียงใด ดังนั้นการที่องค์การจะจัดทำแผนกลยุทธ์ผู้บริหารต้องมั่นใจว่ากลยุทธ์นั้นมีความเหมาะสมอย่างแท้จริง
          ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (strategy implementation) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์การอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่รับผิดชอบต้องทำความเข้าใจในกลยุทธ์ (understanding) เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับความต้องการและปรัชญาทางธุรกิจ การกำหนดแผนปฏิบัติการ (planning) ด้วยการทำงานเป็นทีมให้ความสำคัญในเรื่องงบประมาณ กำลังคน และระยะเวลา การดำเนินงานตามแผนงาน (plan execution) ตามขั้นตอนมีการแก้ไขหรือตัดสินใจอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ และประเมินโครงการ (project evaluation) มีการติดตามและตรวจสอบผลลัพธ์จากการดำเนินงานเพื่อบรรลุต้องตามวัตถุประสงค์ หลักของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเป็นไปตามแบบจำลอง McKinsey’s 7Ss ซึ่งมีส่วนประกอบของกลยุทธ์ (strategy) ขององค์การ โครงสร้าง (structure) ความสัมพันธ์ของตำแหน่ง อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระบบ (system) ของกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงาน รูปแบบ (style) ลักษณะของการจัดการ บุคลากร (staff) ความเหมะสมของบุคคล ทักษะ (skill) ความเชี่ยวชาญเฉพาะขององค์การ และค่านิยมร่วม (shared value) ที่ถ่ายทอดและปลูกฝังในตัวพนักงานซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ความสัมพันธ์ของปัจจัยแต่ละตัวเน้นให้ ค่านิยมร่วมเป็นรากฐานในการดำรงอยู่และการดำเนินงานขององค์การ สร้างความสมดุลย์ระหว่างปัจจัยทั้งหมดจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น
          ในการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายองค์การ เพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยทักษะหลายด้านโดยเฉพาะความเข้าใจในเรื่องการจัดการการเปลี่ยนแปลง (change management) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤติ (crisis) ที่ เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็วแบบไม่คาดคิดจากสาเหตุ ของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ความบกพร่องของระบบองค์การ หรือความเคยชินของความสำเร็จในอดีต การใช้การบริหารการเปลี่ยนแปลงจะมีแรงต่อต้านจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารต้องสร้างความสมดุลย์ระหว่างแรงต้านเพื่อให้กับไปอยู่สถานะเดิมกับแรงผลักดันให้ไปอยู่ในสถานะใหม่ ด้วยการใช้การสื่อสาร (communication) การมีส่วนร่วม (participation) ในการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ต้น เพื่อลดการต่อต้าน การแทรกแซงและการสร้างแนวร่วม (manipulation and co-optation) ด้วยการดึงแกนนำการต่อต้านเป็นพวก ผู้บริหารควรทำให้ทุกคนเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นความหวังและอนาคตของทุกคน
          การควบคุมกลยุทธ์ (strategic control) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยผู้บริหาร เป็นการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน วิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงการดำเนินงานให้การแก้ไขวิกฤติเป็นไปตามที่กำหนดในแผน มีการวัดผลการดำเนินงาน การประเมินผลและเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดในภารกิจและวัตถุประสงค์ รวมถึงการดำเนินการแก้ไขในกรณีผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างจากที่ตั้งไว้ มาตรฐานที่ใช้สำหรับการตรวจสอบควบคุมจะเป็นในเรื่องของ การทำกำไร (profitability) ส่วนแบ่งทางการตลาด (market position) ผลผลิต (productivity) ความเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์ (product leader) การพัฒนาบุคลากร (personal development) ทัศนคติของพนักงาน (employee attitude) ความรับผิดชอบต่อสังคม (public responsibility) และความสมดุลย์ระหว่างเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว (balance between short and long range goals) สำหรับเทคนิคการควบคุมกลยุทธ์ในองค์การได้มีการนำแบบจำลอง Balance Scorecard มาใช้โดยเน้นความสำคัญใน 4 มุมมองขององค์การคือ เรื่องการเงิน (financial) ลูกค้า(customer) กระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ (internal business process) และการเรียนรู้และการเจริญเติบโต (learning and growth) ท้ายสุดการใช้เทคนิคการควบคุมกลยุทธ์แบบต่างๆผู้บริหารต้องตระหนักว่ามาตรฐานเป็นระดับของผลลัพธ์ที่บุคคลกำหนดขึ้นจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่วัดความสำเร็จอย่างแท้จริง บางครั้งมาตรฐานที่กำหนดอาจสูงหรือต่ำไป เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องพิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่นประกอบไปด้วย
          ปัจจุบันการดำเนินการทางธุรกิจได้ให้ความสนใจในเรื่องความรับผิดต่อสังคม (social responsibility) อย่างมากจนบางครั้งได้นำมาบรรจุไว้ในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจให้เจริญเติบโต (Nijhof,A and Brujin,T.2007.) ในส่วนของ พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่แข่งขัน เจ้าหนี้ ชุมชน รัฐบาล สื่อมวลชน และสาธารณชนอื่น ๆ (Johansson,P.2008) โดยระบุในแผนเป็นเรื่องของ กลยุทธ์ที่เหมาะสม ปรัชญาองค์การที่ถูกต้อง จัดโครง สร้างที่เอื้ออำนวย การวางดุลย์อำนาจ ความพร้อมในการปรับเปลี่ยน ความร่วมรับผิดชอบของทุกฝ่าย การประเมินผลที่รอบคอบ และการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งขององค์การ ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะอยู่ในรูปของการผลิตและขายสินค้าราคายุติธรรม สินค้าได้มาตรฐาน ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน หากผู้บริหารได้ดำเนินการความรับผิดต่อสังคม แนวโน้มที่องค์การจะเกิดความยั่งยืนได้ (sustainable)
          ในกิจการขนาดใหญ่มีผู้ถือหุ้นจำนวนมาก การดำเนินงานส่งผลกระทบต่อคนหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholders) นอกจากความรับผิดชอบทางสังคมในการบริหารงานแล้ว ความมีมาตรฐานจริยธรรม (ethics) ทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ โดยเกี่ยวข้องในเรื่อง ความรับผิดชอบ (accountability) ต่อ ผู้บริโภค ต่อพนักงาน ต่อคู่แข่งขัน ต่อชุมชน มีการบริหารงานที่โปร่งใส (transparency) การยึดกฎระเบียบที่ยุติธรรม (rule of law) การมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม (public mind) ความซื่อสัตย์ (integrity) เมื่อนำมาใช้จะช่วยให้กิจการมีความเป็น บรรษัทภิบาล (corporate governance) เพราะถือว่าเป็นการบริหารและกำกับดูแลที่ดี มีการติดตาม กำกับ ควบคุม และดูแลผู้ที่ได้รับมอบอำนาจให้ทำหน้าที่ทางการบริหารให้มีการจัดกระบวนการหรือระบบการบริหารจัดการ เพื่อใช้ทรัพยากรทุกประเภทซึ่งเป็นส่วนรวม ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมบนรากฐานความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย (Ramaswamy, V.,Ueng,J.,and Carl,L.2008.) นอกจากนี้การที่กิจการมีการกำกับดูแลที่ดี สามารถให้ผลในทางบวกต่อการปฏิบัติงานทางเศรษฐกิจของประเทศ

สรุปและอภิปรายผล
          การนำเสนอการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อการแก้ไขวิกฤติของธุรกิจในบทความนี้เป็นการเสนอแบบองค์รวม โดยเน้นในเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์เพื่อการวางแผนและขับดันไปสู่เป้าหมาย โดยผู้บริหารจะต้องรวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมต่างๆอย่างละเอียดรอบคอบ และมีหลักการ ผู้บริหารต้องนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา พร้อมไหวพริบและความสุขุมมาประยุกต์เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับสะสางปัญหา นอกจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดแล้ว ผู้บริหารต้องวางแนวทางในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าประสงค์ที่วางไว้อย่างราบรื่น ตลอดจนต้องติดตาม ตรวจสอบ วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไม่ว่ากิจการนั้นจะอยู่ภายในประเทศหรือการขยายไปสู่ต่างประเทศ (global business) ในทุกรูปแบบ นอกจากนี้การบริหารยังต้องพิจารณาผลกระทบจากการดำเนินต่อสังคมทั้งการเป็นบรรษัทภิบาล (good governance) ที่มีการกำกับดูแลที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility) โดยพิจารณาถึงส่วนของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด การจัดการในทุกแผนเชิงกลยุทธ์อย่างเหมาะสมกับสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต ย่อมช่วยให้นำพาองค์การไปสู่ความอยู่รอดพ้นจากสภาพวิกฤติ (survival) และมุ่งสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน (sustainable) ในที่สุด.

References

- Christie,J.; Esper,T.; Turnipseed,F,; Rapert,M.2002
......The role of strategic environments in enhancing strategic commitment, organization
American Marketing Association. Conference Proceedings; 2002; 13, ABI/INFORM Global,pg. 68
- Gao,Y.2009
......Managing Political Risk in Cross-National Investment :A Stakeholders View , Singapore Management Review 2009; 31, 1; ABI/INFORM Global, Huazhong University of Science and Technology,Wuhan,China
- Johansson,P.2008
......Implementing stakeholder management:a case study at a micro-enterprise; VOL. 12 NO. 3 2008, pp. 33-43, Q Emerald Group Publishing Limited, ISSN 1368-3047
- Johanson,M. and Johanson, J.2006.
......Turbulence, Discovery and Foreign Market Entry: A Longitudinal Study of an Entry to Russian Market.;Management International Review; 2006; 46, 2; ABI/INFORM Global.pg. 179
- Mooney,A.2007
......Core Competence, Distinctive Competence, and Competitive Advantage:What Is the Difference? ; Journal of Education for Business;Ann Mooney;Stevens Institute of Technology,Hoboken, New Jersey,USA.
- Ormanidhi,O and Stringa,O.2008
......Porter’s Model of Generic Competitive Strategies,Business Economics;Jul,2008;43,3ABI/INFORM Global,pg 55.
- Nijhof,A and Brujin,T.2007.
......Partnerships for corporate social responsibility;A review of concepts and strategic options; Management Decision Vol. 46 No. 1, 2008 ,Emerald Group Publishing Limited, The Netherlands.
- Ramaswamy, V.,Ueng,J.,and Carl,L.2008.
......Corporate Governance Characteristics of Growth Companies:An Empirical study;, University of St.Thomas Academy of Strategic Management Journal, Volume 7, 2008.
- Wang,Y.2008.
......Examination on Philosophy-Based Management of Contemporary Japanese Corporations: Philosophy, Value Orientation and Performance;Journal of Business Ethics (2009) 85:1–12 _ Springer 2008

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=890.0

การวางแผนกลยุทธ์หน่วยธุรกิจ (business unit strategic planning)

การวางแผนกลยุทธ์หน่วยธุรกิจ (business unit strategic planning)

กระบวนการวางแผนกลยุทธ์หน่วยธุรกิจ มีดังนี้ คือ

การกำหนดพันธกิจ
          คือการกำหนดพันธกิจของหน่วยธุรกิจซึ่งเป็นพันธกิจเฉพาะของตน และต้องอยู่ภายใต้พันธกิจหลักของบริษัท

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT analysis)
          คือการประเมินจุดแข็ง (strength), จุดอ่อน (weaknesses) โอกาส (opportunities) และภัยคุกคาม (threats)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (วิเคราะห์โอกาสและภัยคุกคาม) (External Environment Analysis)
          ระดับมหภาค คือ คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์, เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง กฎหมาย และสังคมวัฒนธรรม
          ระดับจุลภาค คือ ลูกค้า คู่แข่ง ผู้จัดจำหน่ายและผู้ขาย ดังที่กล่าวมาหน่วยธุรกิจจึงจำเป็นต้องศึกษาแนวโน้มและพัฒนาการที่สำคัญ เพื่อที่จะสามารถระบุโอกาสและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อกำไรของบริษัทได้ หรือเรียกว่าการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด (Market Opportunity Analysis--MOA)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน) (Internal Environment Analysis)
          คือการหาจุดอ่อนและจุดแข็งภายในของหน่วยธุรกิจ โดยไม่จำเป็นจะต้องพัฒนาจุดแข็งหรือแก้ไขจุดอ่อนเสมอไป เพื่อแต่ทำให้ทั้งสองจุดนั้นพัฒนาไปด้วยกันได้ นั่นคือกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คือการพึ่งพากันภายในหน่วยธุรกิจนั้นอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง

การกำหนดเป้าหมาย (goal formulation) คือการกำหนดสิ่งที่หน่วยธุรกิจต้องการให้บรรลุถึง ซึ่งจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์คือ
          1. การทำกำไร
          2. การเจริญเติบโตของยอดขาย (sales growth)
          3. การปรับปรุงส่วนแบ่งตลาด (market-share improvement)
          4. ความเสี่ยง (risk containment)
          5. นวัตกรรม (innovation)
          6. ชื่อเรื่อง (reputation)

ซึ่งวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ 4 ประการ คือ
          1. เรียงลำดับความสำคัญจากมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด
          2. ต้องสามารถจัดการกระทำในเชิงปริมาณได้
          3. ต้องเป็นจริงได้
          4. ต้องมีความสอดคล้องกันและกัน

การกำหนดกลยุทธ์ (strategic formulation)
กลยุทธ์คือแผนดำเนินงานเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น
          1. กลยุทธ์การเป็นผู้นำทางด้านต้นทุน (overall cost leadership)
          คือ ธุรกิจที่ต้องการลดต้นทุนการผลิตและต้นทุนการจัดจำหน่ายให้ต่ำที่สุด เพื่อสามารถกำหนดราคาต่ำกว่าคู่แข่ง และได้ส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่กว่า
          2. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (differentiation)
          คือ ธุรกิจที่เน้นถึงการบรรลุถึงการปฏิบัติงานที่โดดเด่นในพื้นที่ที่ลูกค้าคำนึงคือ ธุรกิจที่เน้นถึงการบรรลุถึงการปฏิบัติงานที่โดดเด่นในพื้นที่ที่ลูกค้าคำนึงถึงประโยชน์สินค้าเป็นสำคัญ และตลาดส่วนใหญ่เห็นคุณค่า
          3. กลยุทธ์มุ่งเน้นตลาดเฉพาะส่วน (focus)
          คือ การมุ่งเน้นเฉพาะส่วนที่บริษัทรู้จัดตลาดส่วนนั้นดี
          4. พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic alliances)
          คือ การสร้างพันธมิตรเป็นเชิงกลยุทธ์ สร้างเครือข่ายเดียวกัน ดำเนินธุรกิจเกื้อหนุนกัน โดยมีหลักการคือต้องมีกลยุทธ์ที่เข้ากันได้ เน้นที่เป้าหมายระยะยาวและต้องมีความยืดหยุ่น
          5. พันธมิตรทางการตลาด (marketing alliances)
          คือ การรวมตัวกันของพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ เพื่อเป้าหมายเดียวกันโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการส่งกำลังบำรุงและด้านราคา

การกำหนดโปรแกรม และการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ (program formulation and implementation)
          เมื่อหน่วยธุรกิจกำหนดกลยุทธ์หลักได้แล้วจำเป็นต้องจัดทำโปรแกรมสนับสนุนที่เป็นรายละเอียด และจะต้องนำไปปฏิบัติที่เหมาะสม

การป้อนกลับและควบคุม (feedback and control)
          เมื่อนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติแล้ว จำเป็นต้องติดตามผลและควบคุมดูแลพัฒนาการใหม่ ๆ เพราะตลาดย่อมเปลี่ยนแปลงและเมื่อมันเปลี่ยนแปลงเราจำเป็นต้องปรับกระบวนการต่าง ๆ ใหม่ให้เหมาะสมอยู่เสมอ

การวางแผนผลิตภัณฑ์: ธรรมชาติและองค์ประกอบของแผนการตลาด (Product Planning : The Nature and Contents of a Marketing Plan)
          ในระดับของผลิตภัณฑ์นั้นจำเป็นต้องมีแผนการตลาดที่เหมาะสมกับระดับผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นแผนการตลาดจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการวางแผนผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีองค์ประกอบของแผนการตลาดดังนี้

องค์ประกอบของแผนการตลาด
          1. บทสรุปสำหรับผู้บริหารและสารบัญข้อเสนอแนะ (executive Summary and table of contents)
          2. สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน (current marketing situation) เป็นการเสนอข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับยอดขาย ต้นทุน กำไร ตลาด คู่แข่ง ช่องทาง และอิทธิพลต่าง ๆ
               - การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด (opportunity and issue analysis)
          3. วัตถุประสงค์ (objectives) หรือเป้าหมายทางการตลาดและการเงิน  ซึ่งอธิบายออกมาในรูปที่วัดผลได้
          4. กลยุทธ์การตลาด (marketing strategy) คือ กำหนดตำแหน่ง การจัดการผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาด และการวิจัยการตลาด
               - แผนการปฎิบัติการ (action program)
               - การคาดคะเนทางการเงิน (financial projection)
          5. การควบคุมการปฏิบิตกงาน (implementation control) คือส่วนสุดท้ายขององค์ประกอบ คือ การควบคุม ดูแล และปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทันต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

               เพราะฉะนั้นการวางแผนหรือการพัฒนากลยุทธ์นั้น จึงมีส่วนสำคัญในการผลักดันผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามกระบวนการทางการตลาด และเป็นไปตามเป้าหมายกับวัตถุประสงค์ของบริษัท ซึ่งจะถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งทั้งหมดก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมหรือเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ โดยกระบวนการควบคุมและติดตามเพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้ทันกับสภาวะการณ์ปัจจุบันและอนาคตต่อไป

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=890.0

การตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจ

การตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจ

วัตถุประสงค์
          1. ทราบถึงวัตถุประสงค์หลักของการตลาดระหว่างธุรกิจ
          2. เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจและการตลาดทางตรงที่ไปถึงผู้บริโภค
          3. ทราบถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถเลือกใช้ได้ในการทำการตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจ

          ตลาดองค์การ (organizational markets) หมายถึง ซื้อเป็นกลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ค้าปลีก และรัฐบาลที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อไปใช้ในการดำเนินงาน ผลิตต่อ ขายต่อ หรือให้บริการอย่างอื่น ในที่นี้ได้จำแนกตลาดองค์การออกเป็น 3 ประเภทคือ ตลาดอุตสาหกรรม (industrial) ตลาดขายต่อ (reseller) และตลาดรัฐบาล (government)

การซื้อขององค์การประกอบด้วยสิ่งที่มีปัจจัยต่อการซื้อ และผู้ซื้อขององค์กรการ 3 ประการ ได้แก่
          1. ตัวผู้ซื้อ (individual buyer)
          2. ลักษณะขององค์การที่ซื้อ (The characteristics of the buying organization)
          3. สิ่งแวดล้อมทางการตลาด (The market environment)

ประเภทของตลาดองค์การ (types of organization Markets) แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
          1. ตลาดอุตสาหกรรม หรือตลาดผู้ผลิต (industrial markets) ได้แก่ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ไปเพื่อหากำไรสินค้าหรือบริการชนิดใหม่ขึ้นเพื่อแสวงหากำไรอีกทอดหนึ่ง
          2. ตลาดคนกลางหรือตลาดผู้ขายต่อ (reseller markets) ได้แก่ตลาดซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือองค์การ ได้แก่ ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกที่ซื้อผลิตภัณฑ์มาเพื่อการขายต่อ หรือเช่ามาให้เช่าต่อเพื่อต้องการกำไร
          3. ตลาดตลาดรัฐบาล (government market) ประกอบไปด้วยส่วนราชการ ซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สำนักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐทั้งสวนกลาง ส่วนภูมิภาค

กระบวนการตัดสินใจซื้อขององค์การ ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ 5 ขั้นตอน ได้แก่
          1. การรับรู้ปัญหา (problem recognition) มีผลสืบเนื่องจากสิ่งเร้าทั้งจากภายนอกและภายในบริษัทมากระตุ้นให้บุคลากรผู้ผลิตที่ต่าง ๆ เกิดความต้องการที่จำเป็นต้องสนองตอบ และลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ได้ ดังนี้
               -  การอธิบายความต้องการทั่วไป (general need description)
               -  การกำหนดลักษณะจำเพาะของผลิตภัณฑ์ (product specification)
          2. การเสาะหาข้อมูล (information search) ได้แก่ การแสวงหาผู้ขาย (supplier search) หลังจากองค์การสามารถกำหนดลักษณะจำเพาะของผลิตภัณฑ์ที่อยากได้เสร็จแล้ว ทางฝ่ายผู้ซื้อจะแสวงหาผู้ขายที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดที่จะทำการติดต่อซื้อขายด้วย
          3. การประเมินทางเลือก (product supplier evaluation) หลังจากที่ได้รายชื่อผู้ขายที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจำนวนหนึ่ง ฝ่ายผู้ซื้อจะแจ้งให้ผู้ขายเหล่านั้นทำข้อเสนอส่งมาเพื่อพิจารณา
          4. การตัดสินใจซื้อ (purchase) การตัดสินใจซื้อจะเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผู้ขายและการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ของการซื้อให้เป็นแบบอย่างของการซื้อครั้งต่อไป
          5. การประเมินผลหลังการซื้อ (post-purchase evaluation) หลังจากที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้แล้ว ผู้ซื้อจะทำการตลาดทำการตรวจสอบความสามารถของผู้ขายเปรียบเทียบกับข้อเสนอที่ผู้ขายได้เสนอมาและทำสัญญาเป็นข้อตกลงกันไว้

การตัดสินใจซื้อขององค์การตามสถานการณ์ต่าง ๆ มีอยู่ 3 ประเภท คือ
          1. การซื้อซ้ำแบบธรรมดา (The straight rebuy) หมายถึง สถานการณ์ที่ผู้ซื้อเคยซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มาแล้วและต้องการซื้อซ้ำอีกโดยไม่ประสงค์จะดัดแปลงอะไรทั้งสิ้น
          2. การซื้อซ้ำแบบดัดแปลง (modified rebuy) หมายถึง สถานการณ์ที่ผู้ซื้อเคยซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มาแล้ว และต้องการซื้อซ้ำอีก แต่ต้องการครั้งใหม่นี้ประสงค์จะเปลี่ยนแผลงอะไรบางอย่างได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
          3. การซื้อแบบเป็นภารกิจใหม่ (new tasks of new buy) หมายถึง การซื้อผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยซื้อมาก่อนเลย

ผู้มีอิทธิพลในการซื้อขององค์การมีอยู่ 8 ประการคือ
          1. บทบาทในศูนย์กลางการซื้อ (roles in the buying center)
          2. ผู้ใช้ (users)
          3. ผู้มีอิทธิพล (influences)
          4. ผู้ซื้อ (buyer)
          5. ผู้ตัดสินใจ (deciders)
          6. ผู้อนุมัติ (approvers)
          7. ผู้ควบคุมดูแล (gate keepers)
          8. ความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องในศูนย์การซื้อ (conflict in buying center)

กลยุทธ์การตลาดสำหรับตลาดองค์การ ประกอบไปด้วย 3 ที่นักการตลาดควรคำนึงถึงก่อนการกำหนดกลยุทธ์การตลาดต่อไป ซึ่งได้แก่
          1. การกำหนดลูกค้าที่คาดหวัง (prospect identification)
          2. การขายโดยใช้พนักงานขาย (personal selling)
          3.  การใช้สื่อโฆษณาและสื่อการตลาดทางตรงเพื่อสนับสนุนการขาย (supportive advertising media and direct marketing media)

          การตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจ เป็นลักษณะที่เรียกกันว่าตลาดองค์การ (The organizational market) ซึ่งจะมีความแตกต่างไปจากผู้บริโภคโดยทั่วไป (consumer market)

การเติบโตของการตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจ
               - สาเหตุประการหนึ่งที่ส่งผลให้การตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจเป็นที่นิยมกันมากขึ้น
               - สาเหตุอีกประการหนึ่งได้แก่ การเกิดกิจการขนาดเล็กต่าง ๆ มากขึ้น

วัตถุประสงค์ของการตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์หลัก ๆ ได้แก่
               - เพื่อให้เกิดการขายโดยตรงโดยไม่มีช่องทางจำหน่ายแบบอื่น ๆ
               - เพื่อให้ได้แนวทางที่ชัดเจนสำหรับ พนักงานขาย ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้จำหน่าย
               - เพื่อให้บริการลูกค้าเดิมของกิจการ
               - เพื่อให้ข้อมูลหรือให้ความรู้

ข้อแตกต่างระหว่างการตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจ และการตลาดทางตรงไปสู่ผู้บริโภค สรุปได้แก่
               - ผู้บริหารธุรกิจจะซื้อโดยมีเหตุผลแตกต่างกันมากมาย
               - ผู้บริหารธุรกิจ การซื้ออย่างไม่มีการวางแผนล่วงหน้า (impulse buying) เกิดขึ้นน้อยครั้ง
               - สาเหตุที่สำคัญสำหรับเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงของกิจการ คือ การซื้อเพื่อก่อให้เกิดกำไร หรือเพื่อประหยัดต้นทุน
               - ในสำนักงานต่าง ๆ ผู้บริหารระดับสูง ๆ มักจะไม่มีโอกาสได้เห็นซองจดหมาย
               - จดหมายที่ตีพิมพ์ที่ส่งไป จะช่วยให้ผู้บริการได้ติดตามการเคลื่อนไหวต่าง ๆ

จากการศึกษาของ Roberts and Berger พบว่ามีข้อแตกต่างที่สำคัญได้แก่
          1. กิจกรรมการตลาดทางตรงจะส่งไปให้บุคคลหลาย ๆ ฝ่ายในองค์การหนึ่ง ๆ
          2. ต้องมีการจัดการรายชื่อของลูกค้า (list) ให้ทันต่อเหตุการณ์เสมอ
          3. รายชื่ออาจมีจำนวนไม่มาก แต่จะเป็นผลดีมากกว่ามีรายชื่อมาก แต่ไม่ตรงเป้าหมายซึ่งอาจมีเพียงไม่กี่พันราย

สื่อของการตลาดทางตรงระหว่างธุรกิจ ที่นิยมใช้กันได้แก่
               - สื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์แบบตอบสนอง
               - จดหมายทางตรง
               - แค็ตตาล็อก
               - การตลาดทางโทรศัพท์
               - การตลาดระหว่างธุรกิจ (B2B)

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=890.0

บริการสนับสนุนกิจกรรม การตลาดทางตรง - กลยุทธ์การตลาด

บริการสนับสนุนกิจกรรม การตลาดทางตรง

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้เข้าใจถึงประเภทบริการต่าง ๆ ที่สามารถเลือกใช้ในการทำกิจกรรมด้านการตลาดทางตรงได้
          2. สามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆ ได้ตรงตามความต้องการ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

          บทนี้จะได้อธิบายถึงบริการสนับสนุนต่าง ๆ ที่จะมีส่วนช่วยให้การดำเนินกิจกรรมการตลาดทางตรงของกิจการห้าบรรลุวัตถุประสงค์ได้ บริการเหล่านี้ได้แก่ บริการด้านการส่งจดหมาย การส่งพัสดุ การส่งสินค้า การเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และการชำระเงิน เป็นต้น

การจัดส่งข่างสาร และการส่งมอบสินค้าและบริการของกิจกรรมการตลาดทางตรง

การจัดส่งข่าวสาร และการส่งมอบสินค้าและบริการกิจกรรมการตลาดทางตรงมี 2 ลักษณะ ได้แก่
               - สินค้าที่สามารถส่งผ่านการสื่อสารระบบคอมพิวเตอร์ได้ (soft-goods) โดยผู้สนใจสามารถ Download ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปยังผู้สั่งซื้อได้โดยตรง
               - สินค้าที่มีตัวตนจับต้องได้ (hard-goods) ที่ต้องอาศัยการขนส่งแบบเดิมทั้งหมด

          ส่วนข้อดีของระบบการขนส่งในปัจจุบันก็คือ สามารถติดต่อการเดินทางของสินค้าโดยผ่านจอเว็บบราวเซอร์ได้ วิธีนี้ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพื่อแลกกับคำสั่งซื้อที่มาเป็นตู้คอนเทนเนอร์

ปัญหาที่พบในการขนส่งของการตลาดทางตรงระหว่างประเทศมี 4 ประการ คือ
          1. อัตราน้ำนักเริ่มต้นอยู่ในระดับสูง
          2. ปัญหาการส่งของสด
          3. การรับประกันของเสียหาย
          4. การจัดส่งสินค้าประเภทเพชรพลอยจริง

          อย่างไรก็ตามปัจจุบันกิจการด้านนี้มีการพัฒนารูปแบบและอัตราการให้บริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการตลาดมากมาย ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างบริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย บริการของบริษัทเฟดเดอแร็ลเอ็กซเพรส (FedEx) และบริษัทขนส่งและคลังสินค้า KPN-ST Logistics

บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
          การสื่อสารแห่งประเทศไทยให้บริการด้านการส่งไปรษณีย์และพัสดุทั้งในและต่างประเทศสำหรับบริการในประเทศที่มีการให้บริการและเป็นประโยชน์อย่างมากมายกับกิจกรรมการตลาดทางตรงได้แก่

          1. การส่งข่าวสารต่างๆ สามารถเลือกใช้บริการเหล่านี้ ดังต่อไปนี้
               - จดหมาย (letter)
               - ไปรษณียบัตร (postcard)
               - จดหมายอากาศ (aerogramme)
          2. การส่งสิ่งของทางไปรษณีย์
               - ของตีสิ่งพิมพ์ (printed papers)
               -  พัสดุย่อย (small packet)
               -  พัสดุไปรษณีย์ (parcel)
          3. วิธีการส่งเงินทางไปรษณีย์
               - ไปรษณีย์ธนาณัติ (postal money order)
               - ไปรษณีย์ธนาณัติส่งทาง EMS
               - โทรเลขธนาณัติ (telegraph money order)
               - ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (postal order)
          4. วิธีการส่งเอกสารและสิ่งของสำคัญทางไปรษณีย์
               - ไปรษณีย์รับรอง (certified mail)
               - ไปรษณีย์ลงทะเบียน (registered mail)
               - ไปรษณีย์รับประกัน (insured mail)
          5. วิธีที่จะทำให้ทราบว่าใครเป็นผู้รับของที่ส่งไปรับไว้เมื่อใด
               - ไปรษณีย์ตอบรับ (advice of delivery)
          6. การให้ข่างสารหรือสิ่งของถึงมือผู้รับโดยเร็วเป็นพิเศษ
               - บริการนำจ่ายด่วน (express delivery)
               - บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS--Express Mail Service)
          7. การฝากสิ่งของทางไปรษณีย์คราวละมาก ๆ
               - บริการรับชำระค่าบริการเป็นเงินสด (postage prepayment in cash)
               - บริการเครื่องประทับไปรษณีย์ยากร (franked mail)
               - บริการรับฝากส่งนอกที่ทำการ (collection at sender’s premises)
               - บริการธุรกิจตอบรับ (business reply service)
               - บริการพัสดุไปรษณีย์เก็บเงิน (พ.ก.ง.) (cash on delivery)
               - บริการ EMS ในประเทศเก็บเงิน (EMS cash on delivery)
               - บริการรับฝากส่งไปรษณีย์ไม่มีจ่าหน้า (household delivery service)
               - บริการตู้ไปรษณีย์เช่า (P.O.boxes)

กรณีที่กิจการต้องการจัดส่งพัสดุภัณฑ์ไปต่างประเทศ การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้มีบริการให้เลือกใช้ 3 ประเภทได้แก่
          1. ไปรษณียภัณฑ์ (letter-post item)
          2. พัสดุไปรษณีย์ (parcel post)
          3. ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS)

โดยมีวิธีการขนส่งที่แตกต่างกัน 3 วิธีคือ
          1. ทางอากาศ (by air mail)
          2. ทางอากาศราคาประหยัด (by economy aie หรือ surface air-lifted)
          3. ทางภาคพื้น (by surface  mail)

รายละเอียดของการบริการทั้ง 3 ประเภทมีดังนี้
          1. ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ ส่งเฉพาะทางอากาศ ค่าบริการแบ่งเป็น 2 อัตรา
               -  Document หรือ Business paper และ
               -  Package
          2. พัสดุไปรษณีย์ ส่งได้ 3 ทาง คือ
               - ทางอากาศ มีบริการ 223 เมืองปลายทาง
               - ทางอากาศราคาประหยัด มีบริการ 34 เมืองปลายทาง
               - ทางภาคพื้น มีบริการ 223 เมืองปลายทาง
          3. ไปรษณียภัณฑ์ มีบริการเหมือนพัสดุไปรษณีย์แต่มีข้อแตกต่างอยู่บ้าง คือ สามารถส่งไปได้ทุกประเทศในโลกนี้ พิกัดน้ำหนักเริ่มที่ 5 กรัม, 10 กรัม, 20 กรัม หรือ 50 กรัม แล้วแต่ประเภทไปรษณีย์และวิธีการขนส่งไปประเทศปลายทาง น้ำหนักสูงสุดแต่ละชิ้นไม่เกิน 2 กิโลกรัม สินค้าชิ้นเล็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัมสามารถส่งเป็นไปรษณียภัณฑ์ได้

บริการส่งเสริมสินค้าของบริษัท FedEX

          FedEX คือ บริษัทขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เร่งด่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 เป็นบริษัทแรกที่ให้บริการขนส่งด่วนภายในข้ามคืน การให้บริการรับประกันคืนเงิน จนถึงการใช้คอมพิวเตอร์ติดตามการเดินทางของสินค้าและพัสดุภัณฑ์ได้โดยอัตโนมัติ

          ศักยภาพเหนือคู่แข่งของ FedEX ที่ทำให้กิจการเป็นผู้นำในด้านการขนส่งด้วนทางอากาศ ได้แก่ การมีพนักงานทั่วโลกจำนวน 145,000 คน มีเครื่องบินของบริษัทจำนวนกว่า 663 เครื่อง มีการรับส่งพัสดุภัณฑ์กว่า 3.3 ล้านชิ้น ในแต่ละวันการทำการ มีจำนวนรถบรรทุกและรถขนส่งทั่วโลกกว่า 44,500 คัน FedEX ได้ดำเนินงานการให้บริการมา 27 ปี โดยได้รับการยินยอมรับจากธุรกิจต่าง ๆ ว่าเป็นผู้นำบริการขนส่งด่วนทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก

          บริษัท FedEX ได้จัดให้มีระบบการยืนยันการจัดส่งเครื่องมือถึงจุดหมาย (prof of delivery) โดยระบบการติดตามพัสดุที่ก้าวหน้า ทางด้านพิธีการศุลกากร กิจการจัดให้มีการเดินทางพิธีการศุลกากรแบบด่วนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (expressclear electronic customs clearance) กิจการสามารถส่งข้อมูลของสินค้านำเข้าให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ สถานีปลายทางในหลายประเทศทราบได้ก่อน

          เครือข่าย FedEX AsiaOne (สามารถบริการส่งสินค้าด่วนข้ามคืนทั่วเอเชีย ด้วยเที่ยวบินสัปดาห์ละกว่า 260 เที่ยวภายในเอเชีย โดยมี hub หรือศูนย์ปฏิบัติการ 24 ชม. ณ ท่าอากาศซูบิคเบย์ ประเทศฟิลิปปินส์)

          นอกจากนั้น FedEX ยังเพิ่มศักยภาพเครือข่าย AsiaOne ดวยเที่ยวบินสัปดาห์ล่ะ 11 เที่ยวสู่กรุงเทพฯ สามารถส่งภายในข้ามคืนถึง 17 เมืองหลักในเอเชีย

ธุรกิจให้บริการด้านการขนส่งและคลังสินค้า

กิจการที่ให้บริการด้านการขนส่งและคลังสินค้าในประเทศไทยได้แก่ บริษัท KPN-ST Logistics

การให้บริการด้านพิธีการศุลกากรมีรายละเอียดดังนี้
          1. การให้บริการคลังสินค้า ทำหน้าที่ในด้านการรับสินค้า (receipt) การกระจายสินค้า (issue) การควบคุมสต็อก (inventory control) การให้บริการเสริม (มูลค่าเพิ่ม)
          2. ระบบควบคุมคลังสินค้า โปรแกรม ILIS--Integrated Information System
          3. รายงานต่าง ๆ ได้แก่ รายงานการรับสินค้า (receipt report) รายงานการจ่ายสินค้า (issue report) รายงานสินค้าคงคลัง (inventory/stock report) รายงานอายุการเก็บรักษา (aging report) รายปี/ไตรมาส/เดือน/สัปดาห์/วัน
          4. การให้บริการเสริม (มูลค่าเพิ่ม) ได้แก่ การบรรจุหีบห่อสินค้า (packing/repacking) การติดฉลากสินค้า/บาร์โค้ด (labeling/barcoding) การสอบคุณภาพสินค้า (quality inspection) การรายงานจำนวนสินค้าทางอินเตอร์เน็ต

รูปแบบของการให้บริการสินค้า สามารถสรุปได้ 5 ประการได้แก่
          1. ขายส่ง (wholesale)
          2. ขายปลีก (retail)
          3. ส่งด่วน/ส่งถึงบ้าน (express/door to door)
          4. ส่งอย่างเดียว/ทั้งรับและส่ง (pure/mixed delivery)
          5. ส่งพร้อมเก็บเงินปลายทาง (cash on delivery)

การบริการด้านการเงิน
          ก็จะมีทั้งบริการด้านการเงินจากทางสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งได้มีการพัฒนาการให้บริการให้ทันสมัยและเหมาะสมกับการดำเนินการของการาตลาดทางตรงยิ่งขึ้น โดยจะให้ชำระเงินผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่าการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย บัตรเครดิต บัตรเครดิต/เดบิตเหมือนจริง และการชำระเงินด้วยวิธีเดิม

ระบบการรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินออนไลน์มีอยู่ 2 ระบบคือ
          1. SSL (Secure Socket Layer) SSL เป็นระบบที่ใช้ในการสื่อสารระหว่าง Client และ Server
          2.  SET (Secure Electronic Transactions) ปัจจุบันมีอยู่ 34 ประเทศ ซึ่งระบบนี้จะมีความปลอดภัยกว่าระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ระบบ SET จะมีข้อแตกต่างจากระบบ SSL ตรงที่ระบบ SET จะมีดารยืนยันฝั่งผู้ถือบัตรเครดิตด้วยว่าเป็นตัวจริง

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=890.0

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการกำหนดราคา

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการกำหนดราคา

          ราคา (price) คือ อัตราในการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ระหว่างกันในตลาด โดยใช้เงินเป็นสื่อกลางในปัจจุบันราคาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานการตลาดอย่างมาก ซึ่งผู้บริหารการตลาดจะต้องกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมและกรอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดความสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางการตลาดด้านอื่น ๆ รวมถึงการประยุกต์ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply) มาเป็นองค์ประกอบการตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีระดับราคาที่เป็นที่น่าพอใจขององค์กร คือ สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร และเหมาะสมกับระดับความสามารถหรือกำลังซื้อของผู้บริโภคในตลาด

          อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาขององค์กรธุรกิจในช่วงเวลาที่ผ่านมา มักจะคำนึงถึงต้นทุนการผลิตและการดำเนินงาน (cost) ตามวิธีการที่เรียกว่า markup pricing มากกว่าที่จะพิจารณาถึงปัจจัยด้านต่าง ๆ ข้างต้นอย่างรอบด้าน จึงเป็นที่มาของการสูญเสียโอกาสทางการตลาดและธุรกิจได้ เช่น การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีความสอดคล้องหรือเหมาะสมกับตำแหน่งและภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในตลาด ดังจะเห็นได้จากการปรับราคาจำหน่ายบุหรี่ไทยตรายี่ห้อต่าง ๆ ของโรงงานยาสูบให้มีระดับราคาที่สูงขึ้นกระทั่งใกล้เคียงกับราคาบุหรี่ต่างประเทศ เป็นผลให้ผู้บริโภค จำนวนหนึ่งหันไปบริโภคบุหรี่จากต่างประเทศ ซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เป็นต้น

          การกำหนดกลยุทธ์ด้านราคา จึงนับเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของผู้บริหารการตลาดต่อการกำหนดกลยุทธ์หรือระดับราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ในตลาดให้มีความเหมาะสมต่อปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และประสานได้อย่างลงตัวกับกลยุทธ์ทางการตลาดด้านอื่น ๆ

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
          ปัจจัยที่ผู้บริหารการตลาดจะต้องคำนึงถึงในการกำหนดราคาได้จัดแบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกดังนี้
          1.1 ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
          วัตถุประสงค์ทางการตลาดขององค์กร (marketing objective) ในการกำหนดราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์ ผู้บริหารการตลาดจะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายทางการตลาดขององค์กร ก่อนจะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดนั้น ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์กรอาจจะหมายถึง ความคุ้มค่าต่อการลงทุน การมีกำไรสูงสุด การรักษาหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด หรือวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์กร

          กลยุทธ์การตลาดด้านอื่น ๆ (marketing strategy) ดังได้ทราบโดยทั่วกันว่า ราคา คือ องค์ประกอบหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการตลาด และการส่งเสริมการตลาด ดังนั้น ในการกำหนดราคาจึงจำเป็นต้องกำหนดขึ้นโดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับองค์ประกอบอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วยเช่นกัน เพื่อให้แผนงานการตลาดเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

          ต้นทุน (cost) โดยทั่วไปองค์กรธุรกิจจะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาจากต้นทุนการผลิตและต้นทุนการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งในที่นี้ หมายความรวมถึงต้นทุนในการกระจายผลิตภัณฑ์ และการส่งเสริมการตลาด และต้นทุนทางการตลาดด้านอื่น ๆ รวมถึงการกำหนดราคาจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและความเสี่ยงต่าง ๆ ทางธุรกิจอย่างรอบด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวหากผู้บริหารการตลาดใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหรือกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ อาจจะเป็นสาเหตุให้ผลิตภัณฑ์ขององค์กรมีราคาจำหน่ายสูงกว่าคู่แข่งขันในตลาด หากต้นทุนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้านราคาขององค์กรสูงกว่าคู่แข่งอย่างไรก็ตามต้นทุนต่าง ๆ ขององค์การจะจัดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทุนคงที่ (fixed cost) หมายถึง ต้นทุนที่จะไม่ผันแปรตามจำนวนการผลิตภัณฑ์หรือยอดจำหน่าย เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าโฆษณาและประชาสัมพันธ์ และเงินเดือน ฯลฯ ต้นทุนอีกชนิดหนึ่ง คือ ต้นทุนแปรผัน (available cost) ซึ่งเป็นต้นทุนที่จะแปรผันตามจำนวนการผลิตหรือยอดจำหน่ายขององค์กร เช่น วัตถุดิบในการผลิต ค่าแรง บรรจุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการผลิตหรือจำหน่าย ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน เมื่อนำมารวมกันจะเป็นต้นทุนรวม (total cost) ที่ผู้บริหารการตลาดจะกำหนดส่วนเพิ่ม (margin) ที่เป็นกำไรองค์กรต้องการ รวมเป็นราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่จะต้องเป็นระดับราคาที่ไม่สูงกว่าระดับราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้

          องค์กรเพื่อการกำหนดราคา (organization for pricing) คือ การกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือผู้ที่จะรับผิดชอบต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย หรือให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้จัดการสายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และในบางผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม องค์กรอาจจะกำหนดให้พนักงานขายสามารถกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามการต่อรองกับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ แต่ต้องอยู่ภายในระดับราคาที่องค์กรกำหนด อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ภายในองค์กร จะประกอบด้วยผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายผลิต ผู้จักการฝ่ายการเงิน และฝ่ายบัญชี
        
          1.2 ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา
          ลักษณะของตลาดและอุปสงค์ ผู้บริหารการตลาดจะต้องมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดในตลาด ซึ่งปัจจัยด้านดังกล่าว ผู้บริหารการตลาดสามารถที่จะประยุกต์ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้กับการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ได้ตามสภาพหรือลักษณะของตลาดประเภทต่าง ๆ

          การกำหนดราคาภายใต้ภาวะการณ์แข่งขันสมบูรณ์ คือ ลักษณะของตลาดที่มีผู้บริโภคและผู้ผลิตหรือจำหน่ายมากรายลักษณะของผลติภัณฑ์ไม่มีความแตกต่างกัน และผู้ผลิตสามารถเข้าหรือออกจากตลาดได้ตามความต้องการ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายจึงไม่สามารถกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าราคาตลาดได้

          การกำหนดราคาภายใต้การแข่งขันกึ่งผูกขาด คือ ตลาดที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างตลาดผูกขาดกับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ โดยจะมีผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายจำนวนมาก แต่ผลิตภัณฑ์จะมีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านรูปแบบ คุณภาพ ลักษณะ หรือบริการเสริมก่อนและหลังการขาย ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายจึงสามารถกำหนดราคาให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตนได้อย่างอิสระ

          การกำหนดราคาภายใต้ภาวะที่มีคู่แข้งขันน้อยราย คือ ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายน้อยราย และผลิตภัณฑ์ในตลาดนั้น ๆ จะมีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกันซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้ เช่น ตลาดรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก การกำหนดราคาต้องคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันทางการกาตลาด โดยดัชนีราคาต้องอิงกับภาวะราคาในตลาดหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ

          การกำหนดราคาภายใต้ภาวะการณ์ผูกขาดสมบูรณ์ จะเป็นตลาดที่มีผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายเพียงผู้เดียว ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการดำเนินงานของหน่อยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่มีอิทธิพลสูง หรือเป็นผู้คิดค้นและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตลาดประเภทนี้ ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายจึงมีบทบาทอย่างสูงต่อการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ แต่จะยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น หากเป็นหน่วยงานภาครัฐ จะพิจารณาถึงผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ ในขณะที่หากเป็นหน่วยงานภาคเอกชน การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์อาจจะต้องอยู่ภายใต้ระดับราคาที่ภาครัฐกำหนดหรือควบคุม เพื่อป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในตลาด

          การกำหนดราคาตามทัศนคติเกี่ยวกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค โดยทั่วไปผู้บริโภคจะคำนึงถึงระดับราคาของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ ตามทัศนคติของแต่ละคน เช่น การเลือกที่จะรับประทานข้าวแกงข้างถนน โดยแลกกับเงินค่าอาหารที่ไม่ต้องจ่ายแพงกว่า หรือในพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคบางกลุ่มในตลาด ที่จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพงย่อมจะมีคุณภาพที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน แต่มีราคาต่ำกว่า ดังนั้นผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในตลาดประเภทดังกล่าวนี้ จึงควรพิจารณาถึงทัศนคติเกี่ยวกับการให้คุณค่าผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

          การกำหนดราคาของคู่แข่งขัน ปัจจัยดังกล่าว ผู้บริหารการตลาดจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ทั้งในด้านการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ และปฏิกิริยาทีมีต่อการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วองค์กรที่มีนโยบายกำหนดราคาด้วยปัจจัยดังกล่าว จะยึดหลักกำหนดราคาตามแนวเดียวกันกับคู่แข่งขันอื่น ๆ เช่น เมื่อคู่แข่งขันกำหนดราคาสูงขึ้น องค์กรจะกำหนดราคาสูงตาม แม้ว่าผลิตภัณฑ์ขององค์กรจะมีระดับราคาที่สูงกว่าอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการดังกล่าว จะเป็นการรักษาตำแหน่งทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้มีเสถียรภาพ และลดปฏิกิริยาเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

          1.3 ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ คือ การกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้มีความสอดคล้องต่อสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กล่าวคือ ผู้บริหารการตลาดจะต้องสามารถพยากรณ์สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการกำหนดราคาขององค์กรในตลาดเพื่อกำหนดแนวทางหรือกลยุทธ์ด้านราคาให้มีความสอดคล้องเหมาะสม หรือโดยการปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์ขององค์กร ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีระดับราคาที่เหมาะสมออกมาจำหน่าย เช่น สหพัฒน์ฯ ผลิตและจำหน่ายผงซักฟอกเปาบุ้นจิ้น ในยุคนิยมสินค้าไทยราคาถูกเพื่อช่วยลดปัญหาค่าครองชีพของประชาชนในอดีต หรือการรณรงค์โครงการ Thailand's Best เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ส่งเสริมการผลิตและบริโภคสินค้าไทยเหล่านี้ เป็นต้น

2. กลยุทธ์การกำหนดราคา
          กลยุทธ์ทางการตลาดที่เกี่ยวกับราคานับเป็นสิ่งที่ผู้บริหารการตลาดต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจเพื่อการปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ทางการตลาดซึ่งประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
          2.1 ส่วนลดและส่วนยอมให้ (discount and allowances)
          ผู้บริหารการตลาดที่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด จะต้องกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยมีส่วนลดรูปแบบต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้คนกลางทางการตลาด เต็มใจทำหน้าที่ทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะประกอบด้วย
          2.2 ส่วนลดปริมาณ (quantity discount) คือ ส่วนลดที่องค์กรจะลดให้กับผู้ซื้อ ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ในปริมาณมาก
          2.3 ส่วนลดการค้า (trade discount) บางทีเรียกว่า ส่วนลดตามหน้าที่ (Functional Discount) คือ ส่วนลดที่กำหนดให้คนกลางทางการตลาดซึ่งทำหน้าที่ด้านการจัดกระจายผลิตภัณฑ์ให้แก่องค์กรในระดับต่าง ๆ เช่น การกำหนดส่วนลดให้แก่ผู้ค้าปลีกในอัตราร้อยละ 30 และผู้ค้าส่งในอัตราร้อยละ 10 เป็นต้น
          2.4 ส่วนลดเงินสด (cash discount) เป็นส่วนลดที่องค์กรลดให้แก่ผู้ซื้อที่มีการชำระหนี้ค่าผลิตภัณฑ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสร้างสภาพคล่องให้แก่องค์กร โดยใช้อัตราดอกเบี้ยและเครื่องมือทางการเงินเป็นส่วนประกอบ เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ ราคา 5,500 บาท เงื่อนไขของสินเชื่อหรือส่วนลด คือ 2/10, n/30 ซึ่งแสดงว่าหากผู้ซื้อชำระค่าผลิตภัณฑ์ภายใน 10 วัน นับจากวันสั่งซื้อจะได้รับส่วนลดในอัตราร้อยละ 2 หรือไม่ก็ต้องชำระค่าผลิตภัณฑ์จำนวนเต็มภายใน 30 วัน โดยไม่ได้รับส่วนลด
          2.5 ส่วนลดตามฤดูกาลและการลงวันที่ล่วงหน้า (seasonal discount and forward dating) จัดเป็นส่วนลดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ตามฤดูกาล เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ เสื้อกันหนาว เสื้อกันฝน ร่ม ครีมป้องกันอากาศหนาว หรือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่องค์กรต้องการจำหน่ายนอกฤดูกาล จึงกระตุ้นการซื้อนอกฤดูกาลด้วยการให้ส่วนลดตามฤดูกาล
          2.6 ส่วนยอมให้ในการส่งเสริมการตลาด (promotional allowance) คือส่วนยอมให้หรือเงื่อนไขบางประการที่องค์กรจัดให้แก่ผู้จัดจำหน่าย เพื่อเป็นการตอบแทนแก่ผู้จัดจำหน่ายที่ให้บริการส่งเสริมการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กร ส่วนยอมให้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ของแถม เช่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือการให้ส่วนลดพิเศษแก่ผู้บริโภคในราคาต่ำกว่าป้ายราคาที่กำหนด
          2.7 ค่านายหน้า (commission) ในกรณีที่มีผู้เข้ามาทำหน้าที่เป็นคนกลางในการซื้อขาย หรือเรียกว่า นายหน้า องค์กรจำเป็นต้องจัดให้มีค่าตอบแทนสำหรับนายหน้าด้วย เช่น ค่านายหน้าในการซื้อขายที่ดิน หรือค่านายหน้าในการซื้อขายหลัก
ทรัพย์ เป็นต้น

3. การกำหนดราคาตามหลักภูมิศาสตร์ (geographic pricing)
          การกำหนดราคาด้วยเกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ คือ การกำหนดราคาโดยการพิจารณาถึงต้นทุนด้านการขนส่ง ไปยังตลาดตามภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้นในการกำหนดราคาจัดจำหน่ายให้แก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กรด้วยหลักภูมิศาสตร์ ผู้บริหารการตลาดจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น ระยะทาง ที่ตั้งขององค์กร (หรือโรงงาน) สถานที่จัดจำหน่าย ค่าขนส่ง วิธีการขนส่ง แหล่งวัตถุดิบ และสภาวะการแข่งขันในตลาดโดยมีแนวทางในการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์ข้างต้น ดังนี้        
          3.1 ราคา FOB ณ จุดผลิต (FOB origin pricing) โดยทั่วไปวิธีการดังกล่าวนี้องค์กรผู้ผลิตจะเสนอราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ณ จุดผลิต และผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่งทั้งหมด
          3.2 ราคาส่งมอบเดียวกัน (uniform delivered pricing) คือ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วยราคาเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงระยะทางการขนส่ง แต่จะกำหนดราคา ณ ที่ตั้งของผู้ซื้อ
          3.3 ราคาผลิตภัณฑ์ตามเขต (zone-delivered pricing) โดยวิธีการดังกล่าวผู้บริหารการตลาดจะกำหนดเขตการตลาดขององค์กรออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ และกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขององค์กรในแต่ละเขตการตลาดตามต้นทุนค่าขนส่ง
          3.4 ราคาที่ผู้ขายรับภาระค่าขนส่ง (freight absorption pricing) วิธีการดังกล่าวนี้ ผู้บริหารการตลาดสามารถนำมาปรับใช้ เพื่อลดอุปสรรคด้านโอกาสในการขยายตลาดจากกรณีการกำหนดราคา FOB ณ จุดผลิต โดยองค์กรจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเฉพาะในพื้นที่ตลาดเป้าหมายที่องค์กรต้องการขยายตลาดเข้าไปและเป็นตลาดที่มีคู่แข่งขันถือครองอยู่โดยการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้เท่ากับหรือใกล้เคียงระดับราคาของคู่แข่งในตลาดนั้น ๆ ซึ่งโดยวิธีการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เช่นนี้สามารถขยายขนาดของตลาดออกไปตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ได้
          3.5 ราคาจากจุดฐาน (basing point pricing) เป็นวิธีการกำหนดราคาที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานแน่นอน ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตแต่ละราย และโดยทั่วไปจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ น้ำตาลทราย ข้าวโพด เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งการใช้ราคาจากจุดฐานจะลดปัญหาการแข่งขันด้านราคา และไม่ก่อให้เกิดความสับสนขึ้นในตลาดนั้น ๆ เช่นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่ง มีผู้ประกอบการ 3 ราย ซึ่งตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาค คือ กรุงเทพ ภูเก็ต และหาดใหญ่และผู้ประกอบการเหล่านี้ได้กำหนดให้มีจุดฐานที่ อำเภอหาดใหญ่ โดยกำหนดราคา ณ จุดฐาน หน่วยละ 200 บาทดังนั้น ในกรณีนี้ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใด และมีต้นทุนค่าขนส่งผลิตภัณฑ์เท่าไร จะมีราคาจำหน่ายที่จุดฐาน 200 บาทต่อหน่วยเท่ากันหมด ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะจัดจำหน่ายที่ภูเก็ตจะกำหนดราคาจำหน่ายจากราคา ณ จุดฐานรวมค่าขนส่งจากจุดฐานถึงภูเก็ต สมมติ ให้เท่ากับ 20 บาทต่อหน่วย ดังนั้นผู้ประกอบการทุกรายจึงต้องกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ในภูเก็ตในราคา 220 บาท ต่อหน่วยเท่ากัน

4. การกำหนดราคาที่แตกต่างกัน (price discrimination)
          ผู้บริหารการตลาดสามารถที่จะกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขององค์กรให้แตกต่างกันเป็น 2 - 3 ระดับราคา ตามลักษณะและปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ และที่ตั้ง ฯลฯ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินการขององค์กรซึ่งในการกำหนดราคาที่แตกต่างกันนี้มีเกณฑ์และตัวอย่างในการพิจารณาของผู้บริหารการตลาด ดังนี้        
          4.1 พิจารณาจากผู้บริโภค โดยการพิจารณาจากสถานภาพของผู้บริโภคหรือพฤติกรรมและทัศนคติต่าง ๆ ประกอบ กล่าวคือ หากเป็นผู้ที่มีฐานะดีจะกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ในอัตราที่สูง เช่น สถานพยาบาลจะคิดอัตราค่ารักษาผู้ที่มีฐานะดีสูงกว่าบุคคลทั่วไป หรือการคิดค่าบริการบัตรเครดิตสำหรับผู้ถือบัตรทอง ในอัตราที่สูงกว่าผู้ถือบัตรเงิน เป็นต้น
          4.2 พิจารณาจากรูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยการพิจารณาจากรูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตภัณฑ์ แม้ว่าในการผลิตนั้น ๆ จะมีต้นทุนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น กางเกงยีนลีวายส์ หากเป็นตัวที่ตัดเย็บจากขอบผ้า หรือที่เรียกว่า ริมแดง (red tab) จะมีราคาจำหน่ายที่สูงกว่าตัวอื่น ๆ ทั้งที่อาจจะตัดเย็บจากผ้าผืนเดียวกัน เป็นต้น
          4.3 พิจารณาจากสถานที่ โดยพิจารณาจากความสะดวก และความใกล้หรือไกล ซึ่งจะพบได้ทั่วไปถึงการกำหนดราคาที่แตกต่างกัน ในโรงภาพยนตร์ และสนามกีฬา ฯลฯ
          4.4 พิจารณาจากช่วงเวลา เช่น อัตราค่าเช่าห้องพักของโรงแรมในช่วงวันธรรมดา (วันอาทิตย์ ถึงพฤหัสบดี) จะมีอัตราค่าเช่าที่ถูกกว่าวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว

5. การกำหนดราคาเชิงจิตวิทยา (psychological pricing)
          การกำหนดราคาด้วยวิธีการนี้ จะพิจารณาจากผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภคด้านจิตใจเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์สูงหรือต่ำ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดราคาเชิงจิตวิทยา ดังนี้
          5.1 แนวระดับราคา (price lining) นิยมใช้ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของธุรกิจค้าปลีก โดยกำหนดตัวเลขระดับราคาที่จำกัด เพียงไม่กี่ระดับราคาให้ผู้บริโภคเลือกซื้อ เช่น การกำหนดราคาขายเสื้อ ในระดับราคาตั้งแต่ตัวละ 330, 220 และ 110 บาท ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะแนวระดับราคาจะบ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย
          5.2 การกำหนดราคาเพื่อศักดิ์ศรี (prestige pricing) คือการกำหนดราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจเดียวกัน เพื่อเป็นเครื่องบ่งบอกระดับฐานะของผลิตภัณฑ์ให้ตลาดได้รับรู้ และผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพื่อให้เป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมด้วยเช่นกัน เช่น รถยนต์เบนซ์ นาฬิกาโรเล็กซ์ โรงแรมโอเรียนเต็ล เป็นต้น
          5.3 การกำหนดราคาให้รู้สึกว่าถูกกว่าห้ออื่นหรือการตั้งราคาแบบมีเศษ (odd pricing) คือ การกำหนดราคาให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีราคาถูกลง ด้วยการใช้ตัวเลขคี่ เช่น 49, 99, 149, 9,999 บาท นอกจากนี้การกำหนดราคาให้มีเศษสตางค์ เช่น 16.50, 9.75 และ 1.25 บาท ก็มีผลทางจิตวิทยาเช่นกัน

6. การกำหนดราคาในการส่งเสริมการตลาด (promotional pricing)
          การรณรงค์ส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ผลิตภัณฑ์ขององค์กร ผู้บริหารการตลาดในปัจจุบันจะนิยมใช้การลดราคาเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นหรือจูงใจผู้บริโภคให้เกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการขายของร้านค้าต่าง ๆ ที่ได้จัดขึ้น เช่น "มิดไนท์เซลส์" "ถึงก่อนมีสิทธิ์ก่อน" หรือ "เดอะมอลล์ ลดกระหน่ำ" เป็นต้น

7. การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์หลัก (By Product Pricing)
          การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะพิจารณาจากต้นทุนในการนำผลพลอยได้มาผลิตต่อต้นทุนการเก็บรักษา หรือการขนส่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดที่เกิดขึ้น จะคุ้มค่ากับราคาของผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้หรือไม่ ซึ่งรายได้ที่องค์กรได้รับจะไปชดเชยต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หลักขององค์กรที่จะเป็นการเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้นจากปัจจัยด้านราคา เช่น สหฟาร์ม มีกิจการเลี้ยงไก่เพื่อจัดส่งเป็นวัตถุดิบแก่อุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก และมีผลพลอยได้จากการคัดเลือกไก่ที่ไม่ได้ขนาดตามต้องการ มาจัดทำเป็นไก่พะโล้และอื่น ๆ เพื่อจำหน่ายเป็นอาหารถุงให้แก่ผู้บริโภคในตลาดสดนย่านบางกะปิ เป็นต้น

8. การเปลี่ยนแปลงราคา
          กลยุทธ์และเกณฑ์การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น จำเป็นที่จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมและช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเข้าสู่ตลาดของคู่แข่งขัน จำนวนคู่แข่งขันในตลาด ศักยภาพของคู่แข่งขัน ค่าขนส่ง และต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น หรือแม้แต่ค่าของเงินที่อาจสูงขึ้นหรือตกต่ำลง รวมถึงการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาด และคงความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร 

ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=890.0

9 กลยุทธ์การตลาด เพื่อความอยู่รอด

กลยุทธ์การตลาด สำคัญในยามที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว ถดถอย สิ่งที่สำคัญที่ทุกคนในองค์การคงต้องเตรียมตัว เตรียมใจว่า "เราต้องร่วมกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งในทุกๆ ด้าน" หมั่นตรวจสอบผลการดำเนินงานของตนเองในแต่ละฝ่ายตลอดเวลา ขยันติดตามและตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน ยอดขาย และต้องศึกษาให้เข้าใจถึงความรู้สึกความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าตลอดจนผลกระทบที่มีต่อลูกค้าประจำของเรา และอย่าละเลยที่ต้องขยันคิด ขยันสร้างสรรค์ ขยันค้นหาแนวทางใหม่ๆ แต่ไม่ใช่เปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างใหม่หมดโดยไม่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบและควรรักษาสิ่งดีๆ ที่เคยทำแล้วสำเร็จไว้ และพัฒนาสิ่งที่ดีๆ เหล่านั้นให้แข็งแกร่งมากขึ้น ต้องไม่เป็นกระต่ายตื่นตูม ตื่นตระหนกกับสถานการณ์จนขาดสติ

     การปรับปรุงควรวางแผนมองแบบภาพรวมให้ทุกคนในองค์กรร่วมรับรู้ทุกสถานการณ์ที่มีผลกระทบ และร่วมคิดร่วมสร้างพลัง ค้นหาหนทางที่จะทำให้ทุกๆ คนในองค์อยู่รอดร่วมกัน การปรับการกระทำ ให้ริเริ่มกระทำอย่างมีการ "คิดก่อนทำ" แบบที่เรียกว่า "คิดดี ต้องทำได้" และ "คิดได้ ต้องทำดี" และ 9 กลยุทธ์ทางการตลาดดังต่อไปนี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นหนทางเพื่อให้กิจการฝ่าวิกฤตทำให้องค์กรอยู่รอดและยั่งยืนได้

1.กลยุทธ์ ราคา
       ขอให้ใช้อย่างเข้าใจและใช้กลยุทธ์ราคานี้บนพื้นฐานของการศึกษามากกว่าการใช้ตามความรู้สึกที่ว่าใครๆ เขาก็ใช้กลยุทธ์ราคากัน แน่นอนกลยุทธ์ราคาช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภท commodity ที่ลูกค้าไม่ยึดติดในตราสินค้า ดังนั้น กลยุทธ์ราคามักจะเหมาะสมกับสินค้าประเภทที่ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่มีความภักดีในตราสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ราคาอย่างสร้างสรรค์เช่น ควรลดราคาสำหรับสมาชิก หรือการลดราคาในช่วงสิ้นเดือนที่ลูกค้าเพิ่งได้รับเงินเดือน และการลดราคาให้ผู้มีกำลังซื้อน้อยเช่นข้าราชการ หรือผู้ใช้แรงงานของบริษัทที่ทำสัญญากับกิจการ แม้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้การจะใช้กลยุทธ์การลดราคาควรมีเป้าหมายด้วยและควรเจาะจงมากกว่ากระทำไปโดยไม่มีเป้าหมาย

2.กลยุทธ์ การสร้างคุณค่าที่แตกต่าง
       กลยุทธ์นี้ควรสร้างความยอมรับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวมด้วยเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน ถ้าให้ดีควรเน้นขายสินค้า หรือให้บริการที่มากคุณค่า คุ้มค่า และจ่ายในราคาที่ประหยัดกว่าแต่หาซื้อที่ไหนไม่ได้ หรือซื้อได้แต่ถ้าซื้อที่เราให้ความคุ้มค่า และให้คุณค่ากับผู้ซื้อและสังคมส่วนร่วมเป็นอย่างมาก เช่นกลยุทธ์การขายสินค้าแบบนำสินค้าที่ใช้แล้วมาแลกซื้อสินค้าใหม่ในราคาที่ถูกกว่า หรือกลยุทธ์การเพิ่มเติมบริการเสริมในเรื่องการรับซื้อของเก่าที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปแลกชื้อสินค้าใหม่ถึงบ้าน หรือแม้แต่การรับซื้อบรรจุภัณฑ์เก่าเพื่อแลกซื้อสินค้าใหม่ของเรา จะเห็นว่าถ้าแตกต่างแบบนี้ทุกคนได้ประโยชน์ทั้งนั้น สังคมส่วนรวมก็ได้ด้วย

3.กลยุทธ์ สร้างความผูกพันในตราสินค้า
      กิจการควรใช้กลยุทธ์การสร้างความผูกผันในคุณภาพ ความคุ้มค่า และทำให้ลูกค้าเกิดความผูกพันในทุกสิ่งทุกอย่างของสินค้าและบริการซึ่งต้องทำให้มากขึ้นกว่าเดิมที่เน้นแค่ความผูกพันในความรู้สึกแต่เพียงอย่างเดียว เช่น กลยุทธ์การให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการเสนอแนะวิธีพัฒนาคุณภาพสินค้าในช่วงวิกฤตเพื่อสร้างความอยู่รอดให้สินค้า เพราะลูกค้าเคยมีประสบการณ์ในการใช้เป็นอย่างดี ซึ่งกลยุทธ์สร้างความผูกพันแบบนี้ต้องมีวิธีการแสดงความขอบคุณที่ลูกค้าร่วมแสดงความคิดเห็นติชมโดยอาจใช้ชื่อลูกค้าในรุ่นสินค้านั้นๆ หรือแสดงความขอบคุณในสื่อต่างๆ

4.กลยุทธ์ การวางแผนเลือกใช้สื่อ
     ในอดีตเมื่อยอดขายไม่ดีทุกกิจการมักตัดงบประมาณการสื่อสารการตลาดก่อน แต่ในปัจจุบันกิจการต่างๆ ใช้กลยุทธ์การสื่อสารกันอย่างเต็มที่แต่ที่ต้องระมัดระวัง คือควรเลือกการวางแผนการใช้สื่อให้ดีและเจาะจงมีเป้าหมายชัดเจน นั่นคือ การเลือกใช้สื่อควรมุ่งเน้นการสื่อสารที่ส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เน้นการสร้างความไว้วางใจ เน้นการสร้างความเป็นกันเอง และยังเน้นความเป็นส่วนตัวกับลูกค้า โดยต้องมีการคิดวางแผนเลือกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ แบบที่เรียกว่า innovative idea เช่น การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ต้องสื่อสารในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าจริงๆ การใช้สื่อ internet และการใช้สื่อควรเป็นสื่อที่เข้าถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของลูกค้าช่วยให้ลูกค้ารับรู้ด้วยความไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้การสร้างเลือกสื่อควรคำนึงถึงการความสัมพันธ์แบบญาติพี่น้องกับลูกค้า หรือใช้กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อที่ต้องมุ่งสร้าง social network มากกว่าการให้เพียงข้อมูลข่าวสารแก่ลูกค้าเท่านั้น

5.กลยุทธ์ การวิจัยทัศนคติและพฤติกรรมของลูกค้าที่มีต่อตราสินค้าของตน
     หากกิจการใดยอมเสียเวลาทำการวิจัยย่อมรู้และเข้าใจลูกค้ามากขึ้น แต่การกระทำวิจัยควรทำให้ลูกค้ารับรู้ว่ากิจการมีความสนใจและตระหนักถึงทุกความคิดและความรู้สึกของลูกค้าอยู่เสมอ หมายความว่ายิงปืนนัดเดียวได้ความเข้าใจอันดีกับลูกค้าด้วย และที่สำคัญปัจจุบันนี้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะสนใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นกิจการควรเริ่มสนใจและศึกษาว่าลูกค้าของเราเปลี่ยนไปตามกระแสสังคมโลกหรือไม่ และลูกค้าของเราเปลี่ยนไปเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีมากเราก็ควรเตรียมปรับกลยุทธ์การตลาดให้มุ่งเน้นเรื่อง green marketing มากยิ่งขึ้นในอนาคต

6.กลยุทธ์ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (CRM)
      ยังคงเป็นเรื่องสำคัญอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการสร้างสินค้าและบริการที่ตรงต่อความต้องการแต่ละรายบุคคล (customized products) มุ่งเน้นนำเสนอสินค้าบริการที่สร้างความสุข สร้างให้เกิดการชื่นชอบและชอบใช้อย่างสม่ำเสมอ และบอกให้คนอื่นใช้ ซึ่งเรียกว่าลูกค้าเกิดความภักดีในตราสินค้า (Brand loyalty) และเกิดความผูกพันอย่างลึกซึ้งในตราสินค้า กลยุทธ์ที่ควรใช้และใช้อย่างต่อเนื่องก็คือการบริหารการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลการใช้จ่ายของลูกค้า นำเสนอสินค้าที่ลูกค้าชื่นชอบ แน่นอนกิจการต้องเน้นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและต้องทำอย่างจริงใจ จริงจัง ต่อเนื่องและตลอดเวลา

7.กลยุทธ์ การวิจัยพฤติกรรมการซื้อ
     ควรค้นหาข้อเท็จจริงจากลูกค้ามากขึ้น และควรวิจัยถึงเหตุผลในการซื้อมากกว่าการวิจัยทัศนคติ ความรู้สึก การรับรู้เท่านั้น เพราะในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้การรับรู้ว่าลูกค้ามีความรู้สึกอย่างไรเพื่อมาทำกลยุทธ์การตลาดให้ลูกค้ารู้จักผลิตภัณฑ์เราอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ต้องรู้ข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุดว่าอะไรกันแน่ที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ เช่น กลยุทธ์วิจัยจากการจัดเก็บข้อมูลการใช้จ่ายของลูกค้าประจำจากบัตรสมาชิก มากกว่าการทำวิจัยสำรวจความชื่นชอบในตราสินค้า

8.กลยุทธ์ สร้างความโดดเด่นในการบริการอย่างเฉพาะเจาะจง 
     เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องคุณค่า ความคุ้มค่าในการใช้จ่าย เช่น กลยุทธ์การติดต่อกับลูกค้าประจำ และให้ความสำคัญในการให้บริการเสริมที่ตามลูกค้าแนะนำ ทำให้ลูกค้ารับรู้ว่ากิจการให้ความสำคัญและยอมรับฟังลูกค้านำเสนอบริการตามที่ลูกค้าแนะนำแน่นอนลูกค้าก็จะไม่ไปใช้บริการของคู่แข่งขัน

9.กลยุทธ์ สร้างความสะดวกสบาย ง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนในการซื้อสินค้าหรือในการเข้ารับบริการ 
     กลยุทธ์ที่ 9 นี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ขณะที่ลูกค้าต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจซื้อมากขึ้น กิจการควรนำเสนอรูปแบบการบริการที่ช่วยให้การตัดสินใจของลูกค้ากระทำได้ง่ายขึ้น ไม่ลำบาก โดยมุ่งเน้นการสร้างสินค้าและบริการที่อำนวยความสะดวก เน้นความสบายให้ลูกค้ามากขึ้น เพื่อกระตุ้นความอยากใช้ อยากซื้อ

    โดยรวมแล้วอาจจะมองว่า 9 กลยุทธ์การตลาดข้างต้นเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว แต่อาจมีหลายคนหลงลืมไปว่า นี่ก็คือกลยุทธ์ที่นักการตลาดทั่วโลกกำลังเร่งทำในช่วงภาวะวิกฤตเช่นนี้

ที่มา : http://www.classifiedthai.com/content.php?article=5827

กลยุทธ์การตลาด เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าไทยสู่โลก

กลยุทธ์การตลาด เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าไทยสู่โลก    

          ปัจจุบันการตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีอยู่แค่ในวงจำกัดได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ความสัมพันธ์ใหม่ที่มีพื้นฐานอยู่บนการทำธุรกิจ การบริหารจากเดิมที่เน้นแต่สมาชิกภายในครอบครัวก็เปลี่ยนไปเป็นเป็นการมุ่งเน้นความสนใจไปที่ลูกค้ามากขึ้น และความเคลื่อนไหวจากเดิมที่มุ่งเน้นกลยุทธ์ระยะสั้นและกิจกรรมส่งเสริมการขายเท่านั้นก็ได้เปลี่ยนเป็นการสร้างกลยุทธ์ในระยะยาวให้มากขึ้น

          ด้านการทำตลาดสมัยก่อนที่ผู้ผลิตพยายามเพียงแต่จะส่งสินค้าออกมาเท่านั้น ก็ต้องหันมาทำการตลาดแบบกระตุ้นความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงการตลาดแบบเดิมที่เรียกว่า push marketing เป็นการทำตลาดแบบ pull marketing โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้บริโภค ให้ความสำคัญ กับความพอใจและความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลักมากกว่าการจัดจำหน่ายตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

          ปัจจัยที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับการทำตลาดแบบ pull marketing นั้นก็คือ "แบรนด์" หรือ "ตราสินค้า"  ซึ่งเป็นกลยุทธ์การทำตลาดที่มีการกล่าวถึงและนิยมทำกันมากในปัจจุบันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากแบรนด์มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน เช่น ด้านสังคมซัพพลายเออร์ และสื่อต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการทำวิจัยเกี่ยวกับผู้บริโภค เมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ๆ เพื่อให้ทราบถึงวิถีชีวิตหรือพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคในการบริโภค สินค้าหรือบริการนั้น ๆ

ดังนั้นกลยุทธ์การตลาดโดยการสร้างแบรนด์ จึงเป็นการสร้างความรับรู้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยมีรูปแบบการวางตำแหน่งของการทำแบรนด์ดังนี้ คือ
          1. การอธิบายลักษณะของแบรนด์หรือสินค้าและบริการ (functional atributtes)
          2. อธิบายถึงคุณสมบัติของสินค้าว่ามีข้อดี หรือจุดเด่นและมีประโยชน์อย่างไร เพื่อให้เหตุผลที่ควรซื้อสินค้า/บริการ กับผู้บริโภค (rational benefit)
          3. สามารถเชื่อมโยงกับความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า (emotional benefits) เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ ความทันสมัย และความเป็นสินค้าส่วนตัว
          4. ขั้นตอนการเข้าสู่ลักษณะหรือบุคลิกของแบรนด์ (personnality) เช่น ฉลาด ชัดเจน และไม่ตามใคร ซึ่งขั้นตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสม  
          5. ขั้นตอนสูงสุดคือการเข้าถึงหัวใจของแบรนด์ (brand essence) ซึ่งขั้นตอนนี้แบรนด์ของเอเชียรวมทั้งประเทศไทยยังไม่ได้คำนึงถึงกันมากนัก

          เหตุผลที่แบรนด์ของเอเชียและไทยไม่ให้ความสำคัญกับการวางตำแหน่งแบรนด์ และการคำนึงถึงขั้นตอนของหัวใจของแบรนด์นั้น เนื่องจาก คิดว่าไม่จำเป็นจะต้องทำ เพราะสามารถขยายตลาดได้ และในหลาย ๆ อุตสาหกรรม คิดว่าการทำตลาดดังกล่าวไม่ได้ช่วยดึงส่วนแบ่งตลาดเพียงแต่เป็นการช่วยให้ตลาดโดยรวมเติบโตขึ้นเท่านั้น และคิดว่าการจัดจำหน่ายมีประสิทธิภาพอยู่แล้วเพียงแค่หาผู้จัดจำหน่ายดี ๆ แล้วส่งสินค้าไปก็สามารถขายสินค้าได้ จึงไม่จำเป็นต้องสนใจในการวางตำแหน่งแบรนด์สินค้า ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้สินค้าของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลกได้เท่าที่ควร ขาดการพัฒนารูปแบบสินค้าใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และขาดความโดดเด่นเฉพาะตนเอง

          อย่างไรก็ตามในประเทศกลุ่มเอเชียก็ยังมีแบรนด์ที่เด่น ๆ และติดอันดับโลกอยู่หลายแบรนด์เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ของประเทศญี่ปุ่น เช่น โตโยต้า ฮอนด้า โซนี่ พานาโซนิค นินเทนโด และนิสสัน เป็นต้น ส่วนแบรนด์ในประเทศเกาหลีใต้ที่ติดในระดับสากลคือ ซัมซุง และในประเทศจีนมีแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ และโดดเด่น ได้แก่ ลูกอม White Rabbit และแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า Haier

          สำหรับตลาดของไทย สามารถทำการตลาดได้ในต่างประเทศ เพราะไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ และแบรนด์ของไทยก็มีสินค้าเป็นที่ยอมรับ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เบียร์ ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธนาคาร และของเล่น ส่วนสินค้าระดับล่าง ได้แก่ ซอสต่าง ๆ การสร้างแบรนด์ให้ประเทศเป็นที่รู้จัก ควรสื่อสารข้อความเดียวที่ง่าย ๆ และชัดเจนออกสู่สากลเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยว ควรมีการดึงจุดเด่นบางอย่างของประเทศมานำเสนอเท่านั้น เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยว การใช้หลายส่วนมาเป็นจุดขายหรือมาทำการประชาสัมพันธ์ ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถจำได้หมด เช่น โครงการต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยนั้นมีโครงการออกมาค่อนข้างมาก เช่น Unseen หรือ Be My Guest ฯลฯ ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับนักท่องเที่ยวได้ และทำให้ไม่น่าสนใจเท่าที่ควร

          การนำเสนอเครื่องหมายการค้านั้น ก็เหมือนตัวแทนของบริษัทที่จะสามารถทำให้ลูกค้าที่เห็นสัญลักษณ์แล้ว สามารถนึกถึงบริษัทและผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้น ๆ การนำเสนอจำเป็นต้องใช้สิ่งที่เข้าใจและจดจำได้ง่าย หลีกเลี่ยงจากความซับซ้อน มุ่งเน้นความเรียบง่าย และมีความพิเศษเสมอ

          การสร้างแบรนด์ระดับสากลนั้น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง คือ การตีโจทย์ให้แตก ในเรื่องของผลิตภัณฑ์และลูกค้าว่า ลูกค้าในแต่ละประเทศมีความความต้องการอะไร และมีพฤติกรรมในการบริโภคอย่างไร สำหรับธุรกิจขนาดเล็กเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีเงินลงทุนน้อย แต่ก็มีความเป็นไปได้ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า เพราะการสร้างความน่าเชื่อถือ ก็คือการสร้างแบรนด์อย่างหนึ่งตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมของธุรกิจให้เกิดการลงมือปฏิบัติจริง โดยวางกลยุทธ์ภาพรวม (strategy) และมีการดำเนินการตามแผน (tactic) ให้สอดคล้องกัน

สำหรับเคล็ดลับการสร้างแบรนด์ออกสู่ระดับสากลอยู่ 7 ประการ คือ
          1. สร้างฐานตลาดในประเทศให้แข็งแกร่งก่อนแล้วจึงใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งดังกล่าว
          2. เมื่อเข้าสู่ตลาดโลกแล้วต้องรักษาพันธะสัญญาของแบรนด์ให้ได้
          3. ต้องใช้หลักการตลาด 4P ด้วย (Product, Price, Place, Promotion)
          4. แบรนด์จำเป็นต้องโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่ง และต้องมีความยืดหยุ่นตามแต่ละตลาดด้วย
          5. ดำเนินตามขั้นตอนของการสร้างห่วงโซ่คุณค่า (supply chain)
          6. กลยุทธ์ราคาจะเริ่มจากตลาดหรูหรือไม่ก็ตลาดระดับล่าง และ
          7. ถ้าต้องการประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ ควรมีบริษัทย่อยในประเทศนั้น ๆ

          ถ้าหากผู้ประกอบการไทยรายใดสามารถปฏิบัติหรือนำกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นมาใช้ในการสร้างแบรนด์ของตนเองได้ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยแบรนด์ของตัวเองอย่างภาคภูมิใจ (แหล่งที่มา: บิสิเนสไทย, อ้างอิงถึง นายเดวิด เคทซัม)

ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม